บทเรียน

วิทยาศาสตร์ ป.4

เนื้อหาทั้งหมด 6 หน่วยการเรียน

สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.4 หน่วย 2 เรื่อง หน้าที่ของราก ลำต้น ใบ และดอกของพืชดอก

ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยที่ :
2
เรื่อง :
หน้าที่ของราก ลำต้น ใบและดอก พืชดอก
สาระ :
สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ตัวชี้วัด :
ว 1.2.1 บรรยายหน้าที่ของราก ลำต้น ใบและดอกของพืชดอกโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้
ว 1.3.2 จำแนกพืชออกเป็นพืชดอกและพืชไม่มีดอกโดยใช้การมีดอกเป็นเกณฑ์ โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้
บทนำของเรื่อง :
พืชเจริญเติบโตได้ต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตหลายประการ เช่น แสง น้ำ ธาตุอาหารส่วนต่างๆ ของพืชจะมีหน้าที่ที่ต่างกัน โดยรากและลำต้นจะทำหน้าที่ในการดูดน้ำและธาตุอาหารส่งไปยังส่วนต่างๆ ใบทำหน้าที่สร้างอาหารหรือที่เรียกว่าการสังเคราะห์แสงของพืช ส่วนดอกของพืชจะจำแนกออกเป็น พืชมีดอกและไม่มีดอก ซึ่งดอกของพืชทำหน้าที่ขยายพันธุ์ มีส่วนประกอบของดอกพื้นฐานคือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย

ดอกไม้เปลี่ยนสี

จุดประสงค์ :
เพื่ออธิบายว่าโครงสร้างใดของพืชทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารส่วนใดลำเลียงน้ำต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืช

อุปกรณ์ :

  1. ดอกเบญจมาศ (สีขาว) 3 ดอก
  2. สีผสมอาหาร (แดง, เหลือง, ส้ม)
  3. น้ำ 
  4. หลอดทดลอง จำนวน 3 หลอด
  5. มีด

วิธีทำ :

  1. ให้นักเรียนนำน้ำมาใส่ลงในหลอดทดลองในปริมาณที่เท่าๆ กัน
  2. จากนั้นนำดอกเบญจมาศตัดก้านแล้วใช้มีดคว้านตรงโคนก้าน 3 แฉก
  3. นำสีผสมอาหารทั้ง 3 สีใส่ลงในหลอดทดลอง หลอดละ 1 สี จากนั้นใส่ดอกไม้ลงไป ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับดอกไม้

ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ทั้ง 3 ชนิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

จากการทดลองนี้ ส่วนใดของพืชทำหน้าที่ลำเลียงธาตุอาหารและน้ำ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ส่วนใดของพืชทำหน้าที่ลำเลียงน้ำต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืช
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

นักเรียนคิดว่าใบของพืชทำหน้าที่อะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

หน้าที่โครงสร้างภายนอกของพืช

โครงสร้างภายนอกของพืช ประกอบไปด้วย ราก ซึ่งทำหน้าที่ในการดูดน้ำและแร่ธาตุ ลำเลียงผ่าน ลำต้น ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชโดยผ่านท่อลำเลียงน้ำ ซึ่งเรียกว่าไซเลม (Xylem) รวมถึงลำเลียงไปสู่ ใบ และใบจะทำการสังเคราะห์ด้วยแสง จะได้อาหาร (น้ำตาล) ซึ่งจะส่งผ่านท่อลำเลียงอาหารที่เรียกว่า โฟลเอ็ม (Phloem) เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่จะมี ดอก ซึ่งทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ และเจริญไปเป็นผล ส่วนภายในผลจะมีเมล็ด (seed) ที่จะเติบโตไปเป็นต้นใหม่ต่อไป

ตัวอย่างลักษณะโครงสร้างภายนอกของพืช

 

สารไอโอดีนทดสอบแป้งได้อย่างไร

จุดประสงค์ : ทดสอบสารละลายไอโอดีนกับสารชนิดต่างๆ

หลักการ : เมื่อสารละลายไอโอดีนทำปฏิกิริยากับแป้งจะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงิน

อุปกรณ์ :

  1. สารละลายไอโอดีน
  2. แป้งมันสำปะหลัง
  3. แป้งข้าวโพด 
  4. นม 
  5. ผงถ่าน
  6. น้ำเปล่า
  7. ถาดหลุม
  8. ดรอปเปอร์
  9. บีกเกอร์ขนาด 20 ml

วิธีทำการทดลอง :

  1. นำแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด ผงถ่าน มาละลายกับน้ำเปล่าจากนั้นนำไปใส่ในบีกเกอร์ ใบที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ
  2. ส่วนบีกเกอร์ใบที่ 4 ให้ใส่นมลงไป
  3. หยดสารทั้ง 4 ชนิดลงในถาดหลุมโดยใช้ดรอปเปอร์
  4. จากนั้นบันทึกสีก่อนการหยดสารละลายไอโอดีน
  5. นำดรอปเปอร์ดูดสารละลายไอโอดีนหยด ลงในแต่ละหลุม โดยให้หยดหลุมละ 1-3 หยด บันทึกผล

สรุปผลการทดลอง:
สารชนิดใดบ้างที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำเงิน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สารชนิดใดบ้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สารชนิดใดบ้างที่มีแป้งและสารชนิดใดบ้างไม่มีแป้ง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ส่วนประกอบต่างๆ ของดอก

จุดประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก

ขั้นตอนการปฏิบัติ :

  1. ให้นักเรียนเตรียมดอกไม้ในท้องถิ่นที่ชอบมา 1 ชนิด
  2. ให้วาดภาพหรือแยกส่วนของดอกไม้และนำมาติดไว้
  3. เขียนคำบรรยายส่วนประกอบของดอกดังตัวอย่างด้านล่าง

สำรวจความแตกต่างของพืชมีดอกและไม่มีดอก

ให้นักเรียนนำพืชในท้องถิ่นโดยเลือกพืชที่มีดอกและไม่มีดอกมาอย่างละ 1 ชนิด จากนั้นวาดภาพหรือถ่ายภาพและนำภาพมาติดพร้อมอธิบายลักษณะที่แตกต่างกัน

เปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างของพืชมีดอกและไม่มีดอก

  1. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
  2. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  3. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

โครงสร้างภายในของรากและลำต้น

01 Inspiration & Engagement
คุณครูบอกว่า คนเราใช้ปากและหลอดอาหารลำเลียงอาหารและน้ำเข้าสู่ร่างกายลิปดาสงสัยว่า แล้วพืชใช้อะไรลำเลียงอาหารและน้ำไปยังส่วนต่างๆ ของพืชกันนะ

02 Problem & Question
ขณะที่รากและลำต้นลำเลียงธาตุอาหารและน้ำโครงสร้างภายในเป็นอย่างไร

03 Definition
ราก ทำหน้าที่ เป็นส่วนที่งอกออกจากเมล็ดก่อนส่วนอื่นและเจริญลงสู่ใต้ดินมีหน้าที่ยึดลำต้นให้ตั้งบนดินดูดน้ำและแร่ธาตุที่สะสมอยู่ในดินแล้วลำเลียงขึ้นไปยัง ลำต้น ซึ่งจะทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช

04 Hands – On Activity

  1. ใส่น้ำกับสีผสมอาหาร 3 สี คือ เหลือง น้ำเงิน แดง ลงในแก้ว
  2. ให้เลือก ต้นกระสัง ต้นเทียน หรือต้นซาลารี่ 2 ชนิด ใส่ลงในแก้วน้ำผสมสีที่ชอบ 2 แก้ว ทิ้งไว้ 15, 30 นาที และ 1 วัน
  3. ในแต่ละช่วงเวลาใช้มีดเฉือนต้นตามแนวขวางบางๆ วางลงบนแผ่นสไลด์แล้วส่องด้วยแว่นขยายและใช้มีดลอกชั้นผิวเปลือกตามแนวยาว วาดรูปหรือถ่ายภาพสิ่งที่สังเกตเห็น
  4. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงลำต้นในแต่ละช่วงเวลา

05 Materials

  1. แก้วหรือบีกเกอร์
  2. ต้นกระสัง ต้นเทียน หรือซาลารี่
  3. น้ำเปล่า
  4. สีผสมอาหาร 3 สี แดง เหลือง น้ำเงิน

06 Data Collection
ให้นักเรียนแช่ต้นกระสัง ต้นเทียน หรือต้นซาลารี่ลงในน้ำผสมสี แล้วบันทึกผล

07 Analysis & Discussion
ภาพตัดตามแนวขวางของรากและลำต้น เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ภาพตัดตามแนวยาวของรากและลำต้น เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
รากของพืชทำหน้าที่อะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
อธิบายลักษณะโครงสร้างภายในของรากที่เห็น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ลำต้นของพืชทำหน้าที่อะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
อธิบายลักษณะโครงสร้างภายในของลำต้นที่เห็น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

09 Knowledge Tank

ภาพจำลองการลำเลียงธาตุอาหารและน้ำของพืช

ภาพจำลองระบบท่อลำเลียงอาหารและน้ำของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

2. การลำเลียงน้ำ แร่ธาตุ และอาหารภายในพืชจะมีการลำเลียงไปตามกลุ่มเซลล์ โดยมีการจัดเรียงตัวของกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะตามภาพจำลองระบบท่อลำเลียงอาหารและน้ำ ซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับพืชใบเลี้ยงคู่โดยภายใน กลุ่มเซลล์ จะมีโครงสร้างที่ใช้ในการลำเลียงน้ำ เรียกว่า ท่อลำเลียงน้ำ ไซเลม (Xylem) และมี ท่อลำเลียงอาหาร โฟลเอ็ม (Phloem) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงต่อกันเป็นท่อยาวตั้งแต่รากไปยังลำต้น กิ่ง และ ใบ
3. เมื่อใบของพืช ได้รับน้ำ แร่ธาตุ แสง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะทำการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร โดยอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) จะถูกลำเลียงจากใบไปยังส่วนต่างๆ ของพืชโดย ผ่านท่อลำเลียงอาหาร โฟลเอ็ม (Phloem) ซึ่งเป็น กลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวกันเป็นท่อยาวแทรกอยู่กับท่อลำเลียงน้ำโดยมีทิศทางไหลลงและขึ้น และใบของพืชยังทำหน้าที่ระบายความร้อนได้อีกด้วยซึ่งเรียกว่าการคายน้ำของพืช

 

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

ลักษณะของท่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) จะมีมัดท่อลำเลียง (กลุ่มเซลล์) รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ประกอบด้วย เซลล์ที่อยู่ด้านล่าง คือ ท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) และมีเซลล์เล็กๆ ด้านบน คือ ท่อลำเลียงอาหาร (Phloem) กลุ่มท่อลำเลียงจะกระจายอยู่ทุกส่วนของลำต้นมัดท่อลำเลียงจะไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือแคมเบียม จึงทำให้การเจริญด้านข้างมีความจำกัด มักจะเจริญทางด้านสูงมากกว่า เพราะมีเนื้อเยื่อเจริญข้อและปล้องทำให้ยืดยาวได้ดีและพืชบางชนิดเนื้อเยื่อตรงกลางจะสลายไปเป็นช่องกลวง เช่น ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น

ลักษณะของท่อลำเลียงลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) มีระบบท่อลำเลียง ประกอบด้วย เซลล์ด้านล่าง คือ ท่อลำเลียงน้ำ ไซเลม (Xylem) และเซลล์ด้านบน คือ ท่อลำเลียงอาหาร โฟลเอ็ม (Phloem) อยู่ในแนวรัศมีเดียวกันเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ และระหว่างไซเลม กับโฟลเอ็มมีเนื้อเยื่อเจริญ เรียกว่าแคมเบียม (Cambium) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เมื่อเกิดการแบ่งตัวจะมีผลทำให้ขนาดของลำต้นใหญ่ขึ้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลำเลียงอาหารและน้ำในท่อลำเลียงมีดังนี้
1.อัตราการลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ช้ากว่าการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ในท่อลำเลียงน้ำ
2.ทิศทางการลำเลียงในท่อลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวขึ้นและแนวลงในเวลาเดียวกันแต่การลำเลียงในท่อลำเลียงน้ำจะเกิดในแนวขึ้นทิศเดียว
3.เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารโดยตรงต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตส่วนเซลล์ที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต

ข้อแตกต่าง
ระหว่างท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ คือ กลุ่มเซลล์ของท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกลุ่มเซลล์ของท่อลำเลียงจะอยู่แบบกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่กลุ่มเซลล์ของท่อลำเลียงจะอยู่โดยรอบของลำต้นและเรียงตัวเป็นระเบียบ

ตารางเปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างระหว่างลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

 

หน้าที่ของส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาและโพล่า เห็นดอกไม้สวยจึงอยากเด็ด ท่านเค้าท์เข้ามาห้ามและแนะนำให้ประดิษฐ์ดอกไม้เองโดยทำการสำรวจส่วนประกอบของดอกและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบเพื่อจะได้นำข้อมูลมาประดิษฐ์ดอกไม้ในรูปแบบ 3 มิติ ต่อไป

02 Problem & Question
หน้าที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก

03 Definition
ดอก (Flower) ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ โครงสร้างของดอกประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ กลีบเลี้ยง, กลีบดอก, เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนครบถ้วน เรียกว่า ดอกครบส่วน (ดอกสมบูรณ์เพศ) เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ส่วนดอกที่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปเรียกว่า ดอกไม่ครบส่วน (ดอกไม่สมบูรณ์เพศ) เช่น ดอกมะละกอ

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนหาดอกไม้มา 3 ชนิด
  2. สำรวจหาส่วนประกอบของดอกทั้ง 4 ส่วน
  3. วาดรูปหรือติดภาพส่วนประกอบของดอก
  4. หาข้อมูลและบันทึกข้อมูลหน้าที่แต่ละส่วนของดอก

05 Materials

  1. สมุดจดบันทึก
  2. เครื่องบันทึก
  3. คอมพิวเตอร์
  4. คัตเตอร์
  5. ไม้บรรทัด
  6. แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์

06 Data Collection
ให้นักเรียนวาดหรือถ่ายภาพลักษณะส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอกพร้อมบอกหน้าที่

07 Analysis & Discussion
ดอก ทำหน้าที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ส่วนประกอบของดอกไม้ประกอบด้วย
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
1. ………………………………………………….มีหน้าที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
2. ………………………………………………….มีหน้าที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
3. ………………………………………………….มีหน้าที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
4. ………………………………………………….มีหน้าที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

ดอกไม้นอกจากจะส่งผลให้พืชแลดูสวยงามแล้วยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืชอีกด้วย ดอกไม้โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันดอกขณะที่ดอกกำลังเจริญเติบโต
  2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดเข้าไปจากกลีบเลี้ยงมักจะมีสีสันสวยงามเพื่อดึงดูดสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น แมลง นก ผึ้ง ผีเสื้อ
  3. เกสรเพศผู้(Stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกใช้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อับเรณู (Anther) และ ก้านชูอับเรณู (Filament) มักมีหลายก้าน
  4. เกสรเพศเมีย (Pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุดใช้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ 1. รังไข่ (Ovary) โดยในรังไข่จะมี ออวุล (Ovule) และมีหลอดนำเกสรสู่ไข่ (Pollen Tube) 2. ก้านเกสรเพศเมีย (Style) 3. ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma)

ดอกแบบสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ
ดอกเป็นส่วนประกอบสำคัญของพืชที่ใช้ในการสืบพันธุ์ซึ่งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชโดยตรง ซึ่งสามารถแบ่งประเภทพืชดอกได้โดยใช้ความสมบูรณ์ของส่วนประกอบของโครงสร้างเกสรตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ดอกสมบูรณ์เพศ หรือ ดอกครบส่วน คือ ดอกที่มีส่วนประกอบของโครงสร้างทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา, ดอกบัว, ดอกบานบุรี, ดอกมะเขือ, ดอกพริก, ดอกถั่ว, ดอกฝ้าย, ดอกกะหลํ่า, ดอกข้าวเป็นต้น

ดอกมะลิ                  ดอกกุหลาบ                  ดอกชบา

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ หรือ ดอกไม่ครบส่วน คือ ดอกที่มีส่วนประกอบของโครงสร้างของเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยถ้าหากมีเฉพาะเกสรตัวผู้จะเรียกว่า ดอกตัวผู้  และหากมีเฉพาะเกสรตัวเมียจะเรียกว่า ดอกตัวเมีย พืชหลายชนิดมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน เช่น มะพร้าว, ฟักทอง, บวบ, แตงกวา, ข้าวโพด และตำลึง เป็นต้น และพืชอีกหลายชนิดที่บางต้นมีเฉพาะดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมียเท่านั้น เช่น มะละกอ, ตาล, มะยม, มะเดื่อ เป็นต้น พืชเหล่านี้คนทั่วไปมักเรียกชื่อเพศตามชนิดของดอกไปด้วย เช่น มะละกอที่มีดอก ตัวผู้ เรียกว่า มะละกอตัวผู้

ดอกบวบ          ดอกมะพร้าว          ดอกมะละกอ

 

การระบายความร้อนของพืช

01 Inspiration & Engagement
วันนี้อากาศร้อน ลิปดาและโพล่าเหงื่อออกจำนวนมากท่านเค้าท์อธิบายว่านี้คือการระบายความร้อนของมนุษย์ลิปดาจึงสงสัยว่าพืชจะมีวิธีการระบายความร้อนด้วยหรือไม่ ท่านเค้าท์ตอบว่ามีและเกิดขึ้นทางใบ เรียกกว่า การคายน้ำ

02 Problem & Question
การคายน้ำหรือระบายความร้อนของพืชเกิดขึ้นที่ใบจริงหรือไม่

03 Hypothesis
พืชระบายความร้อนด้วยการคายน้ำออกทางใบ [ ] จริง [ ] ไม่จริง
ตัวแปรต้น คือ กิ่งไม้ที่ ไม่มีใบ มีใบ และใบทาวาสลีน
ตัวแปรควบคุม คือ การวางไว้กลางแดด 15, 30 นาที
ตัวแปรตาม คือ ละอองไอน้ำภายในถุงพลาสติก

04 Hands – On Activity

  1. ให้เตรียมกิ่งไม้ 3 แบบ แบบไม่มีใบ มีใบ และมีใบแต่ทาวาสลีนไว้ที่ใบ
  2. นำกิ่งไม้ปักลงในแก้วที่มีดินทรายแห้งไม่ให้มีน้ำอยู่ แล้วนำถุงพลาสติกคลุมทั้ง 3 แก้ว โดยคลุมเฉพาะกิ่งเท่านั้น
  3. นำยางเส้นมาปิดปากถุงและนำไปตั้งไว้กลางแดด 15-30 นาที
  4. สังเกตและเปรียบเทียบลักษณะของไอน้ำบนถุงพลาสติก

05 Materials

  1. กระถางสีน้ำตาลอิฐ
  2. ถุงพลาสติก 3 ใบ
  3. กรรไกร
  4. ยางเส้น 3 เส้น
  5. กิ่งไม้ 3 กิ่ง
  6. วาสลีน
  7. ดินร่วน

06 Data Collection
ตารางบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของต้นพืชที่นำไปตั้งไว้กลางแดด

07 Analysis & Discussion
ให้เรียงลำดับถุงที่มีไอน้ำเกาะมากที่สุดไปน้อยที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ให้เปรียบเทียบลักษณะภายในถุงพลาสติกของกิ่งที่ไม่มีใบเมื่อก่อนและหลังการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ให้เปรียบเทียบลักษณะภายในถุงพลาสติกของกิ่งที่มีใบเมื่อก่อนและหลังการทดลอง

08 Conclusion
ใบของพืชทำหน้าที่ในการคายน้ำ หรือระบายความร้อน [ ] จริง [ ] ไม่จริง
ใบของพืชจะมีปากใบ เพื่อใช้ในการคายน้ำ [ ] จริง [ ] ไม่จริง
แสง และความร้อน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ [ ] จริง [ ] ไม่จริง
เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

09 Knowledge Tank
หน้าที่ของใบ (Leaf) เป็นโครงสร้างที่สำคัญของพืช มีรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดของพืช หน้าที่ของใบมีหลายอย่าง ได้แก่

การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

1. สร้างอาหาร ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณใบ โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของใบ เกิดเฉพาะในเวลากลางวัน หรือเวลาที่มีแสงเท่านั้น

การหายใจของพืช

2. หายใจ พืชหายใจตลอดเวลา โดยในเวลากลางวันพืชใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการหายใจไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและปล่อยก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนเวลากลางคืนพืชจะไม่มีการสังเคราะห์แสงหรือมีน้อยมาก พืชจะใช้ก๊าซออกซิเจน ในการหายใจและปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมา ดังนั้นจึงไม่ควรนำต้นไม้ไปไว้ในห้องนอน

การคายน้ำของพืช

3. คายน้ำ (Transpiration) เป็นการปรับอุณหภูมิภายในต้นพืชไม่ให้สูงเกินไปและยังเป็นการลำเลียงน้ำและอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช พืชสามารถคายน้ำออกที่บริเวณใบ กิ่ง และลำต้น แต่ใบเป็นส่วนที่คายน้ำมากที่สุด ถ้านำส่วนของใบมาขยายจะเห็นรูเล็กๆ มากมายกระจายอยู่ เรียกว่า ปากใบ (Stomata)

การคายน้ำของพืช (Transpiration)

รากของพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นมา ซึ่งพืชจะใช้น้ำเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบปริมาณที่ถูกดูดขึ้นมา ส่วนที่เหลือจะคายออกมาทาง ปากใบ (Stomata) ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นปากใบได้ด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

ปากใบ (Stomata) คือรูที่อยู่ ระหว่าง เซลล์คุม (Guard cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ มีลักษณะคล้าย เมล็ดถั่ว และเซลล์คุมจะมีคลอโร-พลาสต์ ใช้สำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงปากใบทำหน้าที่เป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศ ปากใบส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณผิวของท้องใบ (ผิวด้านล่างของใบ) เพราะต้องการควบคุมการสูญเสียน้ำในเวลาที่แดดจัด และผิวใบด้านบนมีไข (Cuticle) เคลือบอยู่ จะช่วยลดการคายน้ำทางปากใบด้านบนได้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคายน้ำของพืช

  1. ชนิดของพืช พืชมีปากใบมากจะคายน้ำมากและพืชที่มีปากใบน้อยจะคายน้ำน้อย
  2. อุณหภูมิและความชื้น ถ้าอุณหภูมิสูงพืชจะมีการคายน้ำได้ดีกว่าช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิต่ำ และเมื่ออากาศมีความชื้นมากพืชจะมีการคายน้ำน้อย
  3. แสงสว่าง ถ้ามีแสงสว่างมากปากใบพืชจะเปิด ทำให้มีการคายน้ำมาก
  4. ลม จะพัดพาความชื้นของอากาศออกไปทำให้เกิดการคายน้ำมาก
  5. ปริมาณน้ำในดิน ถ้าน้ำในดินมีน้อยพืชจะลดการคายน้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำโดยพืชจะสร้างกรดขึ้นมากระตุ้นให้ปากใบปิด

การสร้างอาหารของพืช
พืชจำเป็นต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตต่อไป พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่างจากสัตว์และคน คือพืชสามารถสร้างอาหารเองได้โดยการสร้างอาหารของพืชนั้นเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (Photosynthesis)

สารอาหารที่พืชสร้างมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนั้นจะเป็นน้ำตาล (Sugar) ที่เรียกว่า กลูโคส (Glucose) เพื่อใช้เป็นพลังงานในการเจริญเติบโตและส่วนเกินจะถูกสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช โดยจะสะสมอยู่ในรูปของ แป้ง (Flour) หรือคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) นั้นเอง

โดยพืชบางชนิดก็สามารถสร้างโปรตีนได้เช่นกัน โดยการดูดซึมแร่ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen) ในดินและใช้จุลินทรีย์บริเวณรากในการย่อยสลายกลายเป็น โปรตีน (Protien) และพืชบางชนิดยังสามารถสร้างสารอาหารอื่นๆ ได้ เช่น ไขมัน (Fat) และวิตามิน (Vitamin) ซึ่งพืชเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของระบบนิเวศของเรา

 

การทดสอบแป้งในใบพืช

01 Inspiration & Engagement
คุณครูบอกว่าพืชสามารถสร้างอาหารเอง ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะได้น้ำตาลและแป้งลิปดาและโพล่าจึงคิดจะทดสอบใบพืชกับสารละลายไอโอดีน สงสัยว่าจริงหรือไม่

02 Problem & Question
เราสามารถทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชได้หรือไม่

03 Hypothesis
ถ้าพืชสามารถสร้างอาหารเองได้แป้งและน้ำตาลจะใช้สารละลายไอโอดีนในการท
ดสอบได้ [ ] จริง [ ] ไม่จริง
ตัวแปรต้น คือ ใบพลูด่าง
ตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิในการต้ม, จำนวนหยดของสารละลายไอโอดีน
ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน

04 Hands – On Activity

  1. นำภาพใบพลูด่างมาวาดตามลักษณะภาพจริงที่เห็นจากนั้นต้มน้ำกลั่นจนเดือดใส่ใบพลูด่างลงไปในบีกเกอร์ต้มต่ออีก 3 นาที แล้วนำคีมคีบใส่ลงไปในหลอดทดลอง
  2. ใส่เอทิลแอลกอฮอล์ ลงในหลอดทดลองประมาณ 30 ml โดยใช้ที่คีบ คีบหลอดทดลองให้ได้รับความร้อนในบีกเกอร์ ต้มจนเดือด ห้ามให้เอทิลแอลกอฮอล์เดือดล้นโดนไฟเด็ดขาด รอจนใบไม้เป็นสีขาว
  3. เมื่อใบไม้มีสีขาวให้ยกลง นำใบพืชที่ได้ไปล้าง แล้วนำไปใส่ในจานเพาะเชื้อ
  4. จากนั้นนำสารละลายไอโอดีนหยดลงในใบพืชให้ทั่ว ทิ้งไว้รอดูการเปลี่ยนแปลงวาดภาพเทียบกับใบก่อนการทดลอง

05 Materials

  1. 1. ใบพลูด่าง
  2. ปากคีบ
  3. น้ำกลั่น
  4. ดรอปเปอร์
  5. เอทิลแอลกอฮอล์ 95% 
  6. จานเพาะเชื้อ
  7. หลอดทดลอง
  8. สารละลายไอโอดีน
  9. บีกเกอร์ 250 ml 1 ใบ
  10. ที่จับหลอดทดลอง
  11. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์
  12. สีเทียน 
  13. น้ำ

06 Data Collection

07 Analysis & Discussion
จากการทดลองต้มใบพลูด่างเกิดอะไรขึ้นกับใบพลูด่างเมื่อมีการหยดสารละลายไอโอดีน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ลักษณะของใบก่อนและหลังการทดลองเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลังการทดลองบริเวณของใบที่มีความเข้มของสีเขียวมากจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลังการทดลองบริเวณของใบที่มีความเข้มของสีเขียวน้อยจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ความเข้มของสีเขียวของใบมีผลอย่างไรกับการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 

การทดสอบน้ำตาลในใบพืช

01 Inspiration & Engagement
คุณครูบอกว่าพืชสามารถสร้างอาหารเอง ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะได้น้ำตาลและแป้ง ลิปดาและโพล่าจึงสงสัยว่าจริงหรือไม่เรามาลองทดสอบน้ำตาลด้วยสารละลายเบเนดิกต์

02 Problem & Question
เราสามารถทดสอบปริมาณแป้งในใบของพืชได้หรือไม่

03 Hypothesis
ถ้าพืชสามารถสร้างอาหารเองได้เป็นแป้งและน้ำตาลจะใช้สารละลายเบเนดิกต์ในการทดสอบน้ำตาลได้หรือไม่
ตัวแปรต้น คือ หัวหอม
ตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิในการต้มจำนวนหยดของสารเบเนดิกต์
ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของใบพืช

04 Hands – On Activity

  1. นำใบของหัวหอมใหญ่มาหั่นให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก
  2. นำชิ้นของใบหัวหอม 2-3 ชิ้นมาใส่ในหลอดทดลอง
  3. นำสารเบเนดิกต์ มาหยดใส่ในหลอดทดลอง
  4. เขย่าหลอดทดลองแล้วนำไปต้มในน้ำเดือด 3 นาที
  5. สังเกตสีของตะกอนของหลอด และบันทึกผลการทดลอง
  6. ทดลองอีกครั้งโดยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส และพืชชนิดอื่น

05 Materials

  1. หัวหอม
  2. ปากคีบ
  3. น้ำกลั่น
  4. ดรอปเปอร์
  5. สารละลายเบเนดิกต์ 
  6. หลอดทดลอง 3 หลอด
  7. บีกเกอร์ 250 ml 1 ใบ
  8. ที่จับหลอดทดลอง 
  9. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์
  10. น้ำตาลกลูโคส
  11. ส่วนของพืชอีกหนึ่งชนิด

06 Data Collection

07 Analysis & Discussion
หลังการหยดสารเบเนดิกต์ลงใน น้ำตาลกลูโคส ปรากฏว่าสีของตะกอนเป็นสี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลังการหยดสารเบเนดิกต์ลงใน หัวหอมใหญ่ ปรากฏว่าสีของตะกอนเป็นสี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลังการหยดสารเบเนดิกต์ลงใน ……………. ปรากฏว่าสีของตะกอนเปลี่ยนเป็นสี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลูโคส มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบใช่หรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า หัวหอมใหญ่ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบใช่หรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า ………………. มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบใช่หรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ในใบพืชมีน้ำตาล ใช่หรือไม่ ……………………ในใบพืชโอกาสจะมีแป้งใช่หรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
พืชสามารถสร้างอาหารเองได้หรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
อาหารที่พืชสร้างขึ้นมีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

09 Knowledge Tank
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนั้นจะเกิดบริเวณใบของพืช โดยจะเกิดในช่วงเวลากลางวัน โดยพืชจะอาศัยวัตถุดิบ คือ น้ำ (H2O) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยมีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) และแสง (Light Energy) เป็นเครื่องช่วย ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จะได้สารอาหารน้ำตาลกลูโคส (Glucose) แล้วยังได้ก๊าซออกซิเจน (O2) ขึ้นอีกด้วย

โดยใบของพืชซึ่งมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ทำหน้าที่ในการดูดรับแสงมาช่วยทำปฏิกิริยาเคมี โดยรับวัตถุดิบคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ผ่านมาทางปากใบ (Stomata) และรับน้ำ (H2O) มาทางก้านใบ ซึ่งจะได้น้ำตาลกลูโคสและปล่อยก๊าซออกซิเจนออกผ่านมาทางปากใบ

ซึ่งโดยสรุป ปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชก็คือ น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แสง และคลอโรฟิลล์ ซึ่งหากขาดปัจจัยใดไปก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จะไม่สามารถได้รับสารอาหารก็คือ น้ำตาล และก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่มนุษย์ใช้ในกระบวนการหายใจและกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชยังมีประโยชน์ต่อโลกในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

การจำแนกพืช (มีดอกไม่มีดอก)
พืชที่พบเห็นอยู่รอบๆ ตัวเรา มีอยู่มากมายหลายชนิด ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ไว้ ดังนี้
1. พืชมีดอก (Flowering plants) คือ พืชชั้นสูงพอโตเต็มที่แล้วจะออกดอกเพื่อสืบพันธุ์ และมีโครงสร้างต่างๆ ครบถ้วน คือมี ราก ใบ ดอก ผลและเมล็ด เช่น กุหลาบ มะลิ มะม่วง มะยม เป็นต้น

กุหลาบ             มะลิ              มะม่วง

2. พืชไร้ดอก (No flowering plant) คือ พืชที่ตลอดการดำรงชีวิตไม่มีการออกดอก จึงไม่ต้องอาศัยดอกในการสืบพันธุ์ถือเป็นพืชชั้นต่ำกว่าพืชมีดอก เช่น ตะไคร่น้ำ สน เฟิร์น มอสส์ ปรง แปะก๊วย หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง (หญ้าหางม้า)

หญ้าถอดปล้อง                   สน

Cheetos

การจำแนกพืช สามารถใช้การมีดอกเป็นเกณฑ์ในการจำแนกได้เป็นพืชมีดอกและไม่มีดอก
ดอกทำหน้าที่สืบพันธุ์ประกอบด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ซึ่งส่วนประกอบแต่ละส่วนของดอกทำหน้าที่แตกต่างกัน

Missons :

  1. ครูเล่านิทานเรื่อง ความมหัศจรรย์ของดอกไม้ให้นักเรียนฟัง
  2. จากนั้นให้นักเรียนศึกษาดอกไม้ที่สนใจแล้วจำลองส่วนประกอบของดอกขึ้นมาให้ชัดเจน
  3. จำลองการสืบพันธุ์ของดอกโดยเล่าเรื่องจากให้ผึ้งเกาะที่ส่วนประกอบของดอกที่ใช้สืบพันธุ์
  4. ให้ออกมาบรรยายหน้าชั้นพร้อมสรุปหน้าที่ของส่วนประกอบของดอก

Materials :

  1. กระดาษสี
  2. กาว
  3. กระดาษแข็ง
  4. กรรไกร
  5. อุปกรณ์ตกแต่ง

Plan & Design
ให้นักเรียนออกแบบสร้างแบบจำลองและวางแผนการดำเนินงานให้เป็นขั้นตอนตามภารกิจที่กำหนดให้

 

ตัดต่อต้นตะบองเพชร

Investigate :
คุณพ่อกำลังตัดต้นไม้ โพล่าบอกเสียดายจังเลยคุณพ่อตัดต้นไม้ทำไม ดร.วีบอกว่าเปล่า
จะเอาไปตัดต่อลำต้นโพล่าถามว่าแล้วท่อลำเลียงอาหารและน้ำยังจะสามารถใช้ได้หรือครับ ดร.วีบอกใช้ได้ซิ พืชหลายชนิดสามารถตัดต่อลำต้นกันได้นะ มาลองทำกันดีกว่า

Missions :

  1. ทำการตัดต่อลำต้นของต้นตะบองเพชรหรือพืชชนิดอื่นที่สามารถหาได้เพื่อสังเกตการทำงานของท่อลำเลียง
  2. เมื่อตัดลำต้นของต้นพันธุ์และต้นต่อให้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องลักษณะของท่อลำเลียงแล้ววาดรูปหรือถ่ายภาพ

Materials :

  1. ต้นพันธุ์ (สายพันธุ์คอนโด)
  2. คัตเตอร์
  3. ต้นต่อ (สายพันธุ์บิโลเวียร์)
  4. แอลกอฮอล์ 
  5. เทปกาวย่นสีขาว
  6. กระถางสีน้ำตาลอิฐ
  7. หินคละสี 
  8. อุปกรณ์ตกแต่ง

Plan & Design
ให้นักเรียนวางแผนจากอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ให้โดยต้องให้ท่อลำเลียงน้ำเชื่อมติดกันและพืชสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

Building & Testing

  1. จากแผนงานและการลงมือทำ นักเรียนสามารถทำให้ภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่
  2. เปรียบเทียบผลงานของตนเองกับเพื่อนเป็นอย่างไรบ้าง

Evaluation & Redesign

  1. ชิ้นงานของนักเรียนสามารถใช้งานได้ตามข้อกำหนดหรือไม่
  2. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  3. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

3D Flower Model

Investigate :
ลิปดาอยากรู้จักรายละเอียดของดอกไม้ จึงชวนโพล่ามาช่วยกันสร้างสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของดอก พร้อมอธิบายการสืบพันธุ์ของพืชดอก

Missions :

  1. ให้นักเรียนสร้างโมเดลส่วนประกอบของดอกไม้โดยระบุชนิดและประเภทของพืชดอก (ว 1.2.1)
  2. ให้หาข้อมูลเพื่อนำเสนอเรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก
  3. ครูมีเกณฑ์ในการตัดสินคืือให้นักเรียนสร้างโมเดลที่มีลักษณะเหมือนของจริงให้มากที่สุดกลุ่มใดเหมือนสุดเป็นผู้ชนะ (ว 4.2.1)

Materials :

  1. แป้งขนมปัง
  2. สีผสมอาหาร
  3. กระดาษแข็ง 
  4. กรรไกร
  5. มีดคัตเตอร์
  6. ปืนกาว

Plan & Design
จากที่ได้วางแบบที่เขียนไว้ ให้นักเรียนสร้างแบบจำลองตามแบบดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้

Building & Testing

  1. จากแผนงานและการลงมือทำ นักเรียนสามารถทำให้ภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่
  2. เปรียบเทียบผลงานของตนเองกับเพื่อนเป็นอย่างไรบ้าง

Evaluation & Redesign

  1. ชิ้นงานของนักเรียนสามารถใช้งานได้ตามข้อกำหนดหรือไม่
  2. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  3. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
  4. ชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาสามารถต่อยอดไปเป็นนวัตกรรมได้หรือไม่

0 ITEMS IN CART
SUBTOTAL : ฿0
Proceed to Checkout