บทเรียน

วิทยาศาสตร์ ป.1

เนื้อหาทั้งหมด 8 หน่วยการเรียน

สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.1 หน่วย 1 พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ

ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1
หน่วยที่ :
1
เรื่อง :
พืช และสัตว์ที่อาศัยในท้องถิ่นของเรา
สาระ :
สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ตัวชี้วัด :
ว 1.1.1 ระบุชื่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้
ว 1.1.2 บอกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์ในบริเวณที่อาศัยอยู่
บทนำของเรื่อง :
โลกใบนี้มีสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมากมาย บริเวณที่แตกต่างกันก็จะพบสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างด้วย เพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้นๆ

แว่นขยาย (Magnifying glass)

แนวความคิด : ลิปดาและโพล่า สังเกตเห็นนักวิทยาศาสตร์ใช้แว่นขยาย เลยถามคุณครูว่าทำไมต้องใช้แว่นขยาย และได้คำตอบว่าแว่นขยายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและเป็นการฝึกทักษะการสังเกตซึ่งเป็นทักษะเริ่มต้นของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

ภารกิจ :

  1. ให้นักเรียนประดิษฐ์แว่นขยายของตัวเอง
  2. โดยใช้วัสดุที่ครูกำหนดให้

อุปกรณ์ :

  1. กระดาษฟูก
  2. เลนส์นูน
  3. กาว
  4. กรรไกร
  5. อุปกรณ์ตกแต่ง
  6. หรืออุปกรณ์ชุดแว่นขยายสำเร็จ

ภาพ หรือ Youtube Link การทำ

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ จำเป็นจะต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปสู่การค้นหาความรู้ จากการสำรวจ ตรวจสอบ หรือจากการทดลอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 14 ทักษะ ซึ่งแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐาน 8 ทักษะ คือ การสังเกต การวัด การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา การคำนวณการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ และทักษะขั้นสูง 6 ทักษะคือ การตั้งสมมติฐานการนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง และการตีความ-หมายข้อมูล การลงข้อสรุปการตีความหมายข้อมูล และการสร้างแบบจำลอง

แว่นขยายทำงานอย่างไรนะ

ให้ทดสอบแว่นขยาย โดยสังเกตภาพที่เห็นในแว่นขยาย ว่าแตกต่างจากมองด้วยตาเปล่าหรือไม่ อย่างไร

Knowledge Tank แว่นขยาย ช่วยเพิ่มขนาดของภาพทำให้สังเกตเห็นละเอียดมากขึ้น ซึ่งรายละเอียดของภาพที่เกิดขึ้นอยู่ที่กำลังขยายของแว่นขยาย และถ้าใช้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นรายละเอียดของภาพมากกว่าแว่นขยายเนื่องจากกล้องจุลทรรศน์มีกำลังขยายมากกว่า

บริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

 

ที่อยู่อาศัย (Habitat)

คือพื้นที่ที่อยู่อาศัยของพืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ บริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นที่เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตัวอย่างเช่น

หน้า6-1-new

บริเวณทุ่งหญ้า เช่น สนามหญ้า ทุ่งหญ้าโล่ง

เหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชที่ชอบแสงและสัตว์ที่อาศัยพืชในที่โล่งเป็นแหล่งอาหารหรือสัตว์ที่ชอบล่าสัตว์ที่กินพืชในที่โล่ง

หน้า6-2-new

บริเวณที่อับชื้น เช่น ถ้ำ ใต้ขอนไม้ ใต้ดิน

เหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ที่ไม่ชอบแสง ความร้อน แต่ชอบความชื้น เช่น พวกสัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น

หน้า6-3-new

บริเวณต้นไม้ เช่น บนต้นไม้ ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม

เหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ที่ต้องอาศัยต้นไม้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่ และสืบพันธุ์

หน้า6-4-new

บริเวณแหล่งน้ำ เช่น หนองน้ำ แม่น้ำ ทะเล

เหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ที่ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่หรือใช้เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่ และสืบพันธุ์

พืชและสัตว์ในท้องถิ่นต่างๆ

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาไปบ้านคุณปู่คุณย่า พบผึ้งหลวงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลิปดาบอกคุณปู่ว่าเราน่าจะตัดต้นไม้ออกนะคะ คุณปู่บอกว่า ไม่ได้นะจ๊ะ ผึ้งต้องใช้ต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่

02 Problem & Question
พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นของเรามีอะไรบ้าง

03 Definition
บริเวณต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น สนามหญ้า ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม แหล่งน้ำ อาจพบพืชและสัตว์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ในที่ที่แตกต่างกัน เพราะสภาพแวดล้อมของแต่ละบริเวณจะมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ เช่น สระน้ำ มีน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของหอย ปลา สาหร่าย เป็นที่หลบภัยและมีแหล่งอาหารของหอยและปลา บริเวณต้นมะม่วงมีต้นมะม่วงเป็นแหล่งที่อยู่ และเป็นอาหารสำหรับกระรอกและมด

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนสำรวจสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ที่อยู่ในบริเวณท้องถิ่นของตัวเอง
  2. สังเกตแหล่งที่อยู่ และนับจำนวนของสิ่งมีชีวิต
  3. รวบรวมข้อมูลที่ได้ พร้อมสรุปและบันทึกผลลงในตาราง

05 Materials

  1. กล้องถ่ายรูป
  2. ภาชนะสำรวจ
  3. สมุดจดบันทึก

06 Data Collection
ให้นักเรียนสำรวจและศึกษาข้อมูลของสิ่งมีชีวิต (พืชและสัตว์) บริเวณที่อยู่ในท้องถิ่นของนักเรียน จากนั้นบันทึกลงในตารางที่กำหนดให้

07 Analysis & Discussion
บริเวณสนามหญ้าพบพืชและสัตว์กี่ชนิด อะไรบ้าง……………………………………………………………….
บริเวณใต้ต้นไม้พบพืชและสัตว์กี่ชนิด อะไรบ้าง……………………………………………………………………
บริเวณสวนหย่อมพบพืชและสัตว์กี่ชนิด อะไรบ้าง…………………………………………………………………
บริเวณแหล่งน้ำพบพืชและสัตว์กี่ชนิด อะไรบ้าง…………………………………………………………………….
มีพืชและสัตว์ที่นักเรียนพบซ้ำกันในบริเวณ ทุ่งหญ้า ต้นไม้ สวนหย่อม แหล่งน้ำหรือไม่ …………………..
ถ้ามีคือชนิดใด …………………………………………………………………………
และอยู่ร่วมกันในบริเวณใด ……………………………………………………………………………….

08 Conclusion
บริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นของนักเรียนที่พบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มีอะไรบ้าง ……………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………….
บริเวณที่แตกต่างกันอาจพบพืชและสัตว์แตกต่างกัน เพราะเหตุใด ………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………….
ให้ยกตัวอย่างพืชที่อาศัยในบริเวณ ………………………………………………………………….. พร้อมบอกเหตุใด
ว่าทำไมพืชจึงอาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ ………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………….
ให้ยกตัวอย่างสัตว์ที่อาศัยในบริเวณ ……………………………………………………………….. พร้อมบอก เหตุใด
ว่าทำไมสัตว์จึงอาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ ………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………….

09 Knowledge Tank
ทำไมบริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นจึงมีพืชและสัตว์อาศัยอยู่
บริเวณต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น สนามหญ้า ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม แหล่งน้ำ อาจพบพืชและสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ ที่แตกต่างกัน เพราะสภาพแวดล้อมของแต่ละบริเวณจะมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ เช่น สระน้ำ มีน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของหอย ปลา สาหร่าย เป็นที่หลบภัยและมีแหล่งอาหารของหอยและปลา บริเวณต้นมะม่วงมีต้นมะม่วงเป็นแหล่งที่อยู่ และมีอาหารสำหรับกระรอกและมด

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
สภาพแวดล้อมของแต่ละบริเวณจะมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ จะเรียกว่าเป็น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ เช่น ในลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย ในลักษณะของแหล่งอาหาร เป็นลักษณะของแหล่งหลบภัย เป็นลักษณะของแหล่งสืบพันธุ์

1.ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ในลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย คือ พื้นที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ดำรงชีวิต เช่น มดใช้สภาพแวดล้อมดิน หรือต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ปลาใช้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเล เป็นที่อยู่อาศัย

2.ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ในลักษณะของแหล่งอาหาร สิ่งมีชีวิตต้องกินอาหาร เพื่อการดำรงชีวิตและอยู่รอด สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะมีแหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งหนึ่ง และแหล่งหาอาหารอีกแหล่งหนึ่ง เช่น นกอาศัยต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและมีแหล่งอาหารตามหนองน้ำ เป็นต้น

3.ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ในลักษณะของแหล่งหลบภัย สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อหลบภัยจากผู้ล่า เพื่ออยู่รอดจะได้ดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาอาศัยปะการังเป็นแหล่งหลบภัยและหาอาหาร ตั๊กแตนอาศัยบริเวณต้นไม้เพื่อพรางตัวหลบภัย เป็นต้น

4.ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ในลักษณะของแหล่งสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป จึงต้องหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น เต่าทะเลจะอาศัยอยู่ในทะเล แต่ในขณะที่วางไข่เพื่อสืบพันธุ์จะวางไข่ไว้บนบก

STEM Challenge

จำลองสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพืชและสัตว์ Habitat Box Pop up

ถ้าสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่มีการเปลี่ยนแปลง จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ ดังนั้น เราควรสร้างสภาพแวดล้อมและบริเวณที่อยู่ของพืชและสัตว์ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต พวกเรามาสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกันดีกว่า

Missons :

  1. ให้เลือกพืชและสัตว์ที่ชอบและจำลองสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย
  2. ออกแบบและจัดวางส่วนประกอบของบริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นลงในกล่อง
  3. จัดวางหุ่นพืชและสัตว์ตามจินตนาการพร้อมตกแต่งให้สวยงาม
  4. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมพืชและสัตว์ตามภารกิจที่กำหนดให้

Materials :

  1. กล่องกระดาษมีฝาปิด
  2. กรรไกร
  3. เทปหลากสี
  4. สีอะคริลิค
  5. ชุดอุปกรณ์ระบายสี
  6. หุ่นพืชสัตว์

Plan & Design :
ให้นักเรียนออกแบบและวางแผนการดำเนินงานให้เป็นขั้นตอน

 

Challenge Activity

Mini Aquarium

Missions :

  1. ให้นักเรียนสร้างบ้านปลาและเลี้ยงไม้น้ำไปพร้อมกันและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง
  2. ควบคุม ดูแลปัจจัยในการให้อาหาร แสงปกติ
  3. คำนวณต้นทุนการสร้างงาน

Materials :

  1. ขวดโหล
  2. ดิน หิน ประดับ
  3. ไม้น้ำ
  4. ปุ๋ยไม้น้ำ
  5. อาหารปลา
  6. ปลาหางนกยูง

Building&Testing

  1. เกิดปัญหาอะไรบ้างในการสร้าง Mini Aquarium
  2. มีปัจจัยใดบ้างที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้าง Mini Aquarium

Evaluation&Redesign

  1. นักเรียนสามารถทำภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่
  2. ส่วนที่ยากที่สุดของภารกิจนี้คืออะไร
  3. แนวความคิดที่ได้จากกิจกรรมนี้คืออะไร
 

Experiment Activity

สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาเลี้ยงปลาทองโดยไม่ดูแลไม่ให้อาหารไม่ใส่เครื่องปั๊มอากาศ ทำให้ปลาทองผอม และน้ำขุ่น ลิปดาจึงไปถามคุณพ่อทำอย่างไรดีปลาใกล้ตายแล้ว คุณพ่อตอบว่าเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลาไงล่ะครับ

02 Problem & Question
ถ้าเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจะมีผลต่อการดำรงชีวิตหรือไม่

03 Definition
ถ้าเปลี่ยนน้ำให้สะอาดหรือใส่เครื่องปั๊มอากาศ ให้อาหารปลา และอาหารสำหรับต้นไม้น้ำ จะทำให้พืชและสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ [ ] ได้ [ ] ไม่ได้

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนใช้ Mini Aquarium หรือเลี้ยงสัตว์และต้นไม้น้ำขึ้นมาใหม่ มาทำการทดลอง
  2. ในสัปดาห์ที่ 1 ให้ งดอาหาร ไม่เปิดเครื่องปั๊มอากาศไม่ให้แสง และบันทึกลักษณะ
  3. ในสัปดาห์ที่ 2 ให้นักเรียนปรับสภาพแวดล้อมด้วยการให้อาหาร ใส่เครื่องปั๊มอากาศและให้แสงปกติ บันทึกผล

05 Materials

  1. ชุด Mini Aquarium
  2. อาหารปลาและปุ๋ยต้นไม้น้ำ
  3. เครื่องปั๊มอากาศ
  4. สมุดจดบันทึก

06 Data Collection
ให้นักเรียนกำหนดปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ในแต่ละสัปดาห์ แล้วบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงลงในตาราง

07 Analysis & Discussion
สัปดาห์ที่ 1 เมื่องด อาหาร แสง และอากาศ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………….
สัปดาห์ที่ 2 เมื่อให้ อาหาร แสง และอากาศ จะมีผลต่อพืชและสัตว์อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………….

08 Conclusion
ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
…………………………………………………………………………………………………………………………….

09 Knowledge Tank
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
พืชและสัตว์จะอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตเพื่อทำให้สามารถขยายพันธุ์และดำรงพันธุ์ต่อไปได้ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่อาศัย ก็จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะเป็น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งประกอบด้วย

  1. แสง เป็นปัจจัยในการสร้างอาหารของพืช ทำให้พืชดำรงชีวิตอยู่ได้ และให้ความอบอุ่นกับสัตว์
  2. น้ำ เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
  3. ดินและแร่ธาตุ (อาหาร) เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชเป็นแหล่งของธาตุอาหาร และเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์บางชนิด
  4. อุณหภูมิ-ความชื้น (อากาศ) มีผลต่อในการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ เนื่องจากในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมพืชและสัตว์จะสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดี

ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม

สภาพแวดล้อมในบริเวณที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
พืชและสัตว์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั้นจะต้องใกล้เคียงกับปัจจัยในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตของพืชและสัตว์นั้นๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช

1. น้ำ เป็นตัวทำละลายธาตุอาหารในดิน และเป็น ตัวกลางในการลำเลียงแร่ธาตุไปยังส่วนต่างๆ ของพืช จากราก ลำต้น สู่กิ่งก้าน และใบ

2. อากาศ พืชใช้ออกซิเจนในการหายใจ และใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และคายออกซิเจนออกมา

3. อาหาร ได้แก่แร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น

ปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืช

1. น้ำ นอกจากจะเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตแล้วน้ำยังมีส่วนสำคัญในการช่วยให้พืชดำรงชีวิตอยู่ได้

2. แสงแดด ช่วยให้พืชเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และผลลัพธ์จากการสังเคราะห์แสง คือ แก๊สออกซิเจน

ปัจจัยต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตต้องหายใจ เคลื่อนที่ เจริญเติบโต สืบพันธุ์ และต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งลักษณะทั้งหมดนี้ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงาน จึงต้องการ อาหาร น้ำ อากาศ ในการสร้างพลังงานเพื่อดำรงชีวิตและเจริญเติบโต

1. น้ำ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำ ในการดำรงชีวิตและ เจริญเติบโต เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกาย เช่น เป็นส่วนประกอบสำคัญในเลือด

2. อาหาร สัตว์ต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ทำกิจกรรมต่างๆ และเพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโต โดยสัตว์จะไม่สามารถสร้างอาหารเองได้เหมือนพืชจึงต้องล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร

3. อากาศ สัตว์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ ต้องการอากาศในการหายใจ และเผาผลาญอาหาร โดยปกติสัตว์จะขาดอากาศในการหายใจได้ไม่นาน เพียงไม่กี่นาทีอาจจะทำให้สัตว์นั้นตายได้

4. ที่อยู่อาศัย เป็นสภาพแวดล้อม หรือบริเวณที่สัตว์อาศัยอยู่เพื่อใช้ในการพักผ่อน ใช้เป็นแหล่งหลบภัย เป็นแหล่งหาอาหาร เป็นแหล่งที่ใช้ในการสืบพันธุ์เพื่อดำรงชีวิต และเจริญเติบโต ซึ่งถึงสัตว์อาศัยอยู่บริเวณที่เหมาะสมจะทำให้เจริญเติบโตได้ดี

 

0 ITEMS IN CART
SUBTOTAL : ฿0
Proceed to Checkout