บทเรียน

วิทยาศาสตร์ ป.1

เนื้อหาทั้งหมด 8 หน่วยการเรียน

สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.1 หน่วย 3 บอกหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช ตอนที่ 2

ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1
หน่วยที่ :
3
เรื่อง :
ส่วนต่างๆของพืช
สาระ :
สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ตัวชี้วัด :
ว 1.2.1 ระบุชื่อ บรรยายลักษณะและบอกหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมทั้งบรรยายการทำหน้าที่ร่วมกันของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ในการทำกิจกรรมต่างๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้
บทนำของเรื่อง :
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างภายนอกหรือส่วนต่างๆ แตกต่างกันและโครงสร้างภายนอกของพืชจะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมในการดำรงชีวิต

เมล็ดงอกเป็นต้นใหม่?

จุดประสงค์ : เมล็ดสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้หรือไม่

อุปกรณ์ : 

  1. แว่นขยาย
  2. เมล็ดพืช เช่น ถั่วลันเตา ทานตะวัน
  3. กล้องจุลทรรศน์
  4. ถุงพลาสติก ขนาด 6×4 นิ้ว
  5. กระดาษชำระ ยาว 12 นิ้ว

วิธีทำ :

  1. ให้นำเมล็ดพืชไปแช่น้ำ 1 คืน
  2. นำกระดาษชำระใส่ไว้ในถุง พร้อมเมล็ดที่แช่น้ำไว้
  3. สังเกตการเจริญเติบโตทุกๆ วัน ผ่านกล้องจุลทรรศน์และวาดภาพการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันของเมล็ด
  4. ทุกวันควรให้แสงและน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของพืชอย่างเพียงพอ

สรุปผลการทดลอง : เมล็ดของพืชสามารถงอกเป็นต้นใหม่  [ ] ได้ [ ] ไม่ได้
เมื่อทิ้งให้พืชเจริญเติบโต 1 สัปดาห์ นักเรียนสามารถสังเกตเห็นส่วนต่างๆ ของพืชอะไรบ้าง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

กรอบรูปจากส่วนต่างๆ ของพืช

จุดประสงค์ : รู้จัก เข้าใจลักษณะและหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช

อุปกรณ์ : 

  1. แผ่นกระจก หรือแผ่นอะคริลิค
  2. ต้นไม้ที่นักเรียนเลือกมา 1 ชนิด
  3. หนังสือเล่มหนา
  4. กรอบไม้หรืออื่นๆ
  5. อุปกรณ์ตกแต่ง
  6. กระดาษทิชชู่

วิธีทำ :

  1.  เลือกพืชที่นักเรียนสนใจมา 1-3 ชนิด
  2. นำกระดาษทิชชู่มารอง เอาพืชมาวางบนทิชชู่ แล้วทับด้วยทิชชู่อีกครั้ง
  3. นำทั้งหมดสอดเข้าไปในหนังสือ ทับด้วยหนังสืออีก 2-3 ชั้น ทิ้งไว้ 3-5 วัน
  4. เมื่อได้ต้นไม้แห้งและแบนตามที่ต้องการแล้วนำมาวางเรียงบนแผ่นอะคริลิคให้สวยงามและทับด้วยแผ่นอะคริลิคอีกชั้นหนึ่ง
  5. ประกอบเข้ากับกรอบไม้หรืออื่นๆ เพื่อใช้สังเกตส่วนประกอบของต้นพืช

1. ส่วนต่างๆ ของพืชที่เลือกมาใส่ในกรอบรูป ประกอบด้วยส่วนต่างๆ อะไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

2. ให้นักเรียนยกตัวอย่าง ประโยชน์ของพืชที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ส่วนต่างๆ ของพืช

01 Inspiration & Engagement
คุณแม่ให้ลิปดาและโพล่าไปตลาดซื้อแครอท ทั้งสองจึงสงสัยว่าแครอทเป็นผลไม้หรือผักกันแน่ แล้วถ้าแครอทเป็นผักจะเป็นส่วนใดของพืชกันนะ

02 Problem & Question
ส่วนต่างๆ ของพืชมีอะไรบ้างมีลักษณะและหน้าที่อย่างไร

03 Definition
ส่วนต่างๆ ของพืช ประกอบด้วยและทำหน้าที่อะไร

  1. ราก – ดูดอาหาร
  2. ใบ – สังเคราะห์แสง
  3. ลำต้น – ลำเลียงอาหาร
  4. ดอก – ขยายพันธุ์
  5. กิ่งก้าน – ลำเลียงอาหาร
  6. ผล – ขยายพันธุ์

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม เลือกต้นพืชที่ครูเตรียมให้มา 1 ต้น สังเกตส่วนต่างๆ ด้วยการวาดภาพประกอบและเขียน ชี้บอกส่วนประกอบต่างๆ ของพืช
  2. วัดขนาดของพืชและนับจำนวนใบของพืชที่เลือกมา
  3. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงลักษณะและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของพืชที่สังเกต

05 Materials

  1. คอมพิวเตอร์ 
  2. ดินสอ – อุปกรณ์วาดเขียน
  3. กระดาษ
  4. รูปถ่ายพืชชนิดต่างๆ

06 Data Collection
วาดภาพ หรือ ติดรูปภาพ ของพืช พร้อมวัดขนาดความสูงและนับจำนวนใบของพืช

พืชมีความสูงเท่าไหร่……………………(เซนติเมตร) พืชที่สังเกตมีจำนวนใบ…………………..(ใบ)

07 Analysis & Discussion
พืชของเรามีส่วนต่างๆ เหมือนหรือแตกต่างจากของเพื่อนหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ส่วนต่างๆ ของพืชที่เหมือนกันกับเพื่อน คือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ส่วนต่างๆ ของพืชที่แตกต่างกับเพื่อน คือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้บอกส่วนต่างๆ ของพืช พร้อมอธิบายหน้าที่ของแต่ละส่วน

  1. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  2. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  3. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  4. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  5. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

09 Knowledge Tank
ลักษณะและหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของพืช

ลักษณะรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืช

01 Inspiration & Engagement
ลิปดาและโพล่าไปหาข้อมูล พบว่า พืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ (ประมาณ 350,000 สปีชีส์) ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีส่วนต่างๆ ที่มีลักษณะรูปร่างแตกต่างกัน

02 Problem & Question
ส่วนต่างๆ ของพืชแต่ละชนิดมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันอย่างไร

03 Definition
ส่วนต่างๆ ของพืชมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ขนาดพืช โดยพืชที่พบได้ในพื้นที่ต่างๆ จะแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ของประเทศ พืชบางชนิดอาจพบได้ทั่วไปและบางชนิดจะพบได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น

04 Hands – On Activity

  1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสำรวจพืชบริเวณโรงเรียนหรือชุมชนที่อาศัยอยู่ หรือคุณครูเตรียมให้ เช่น กล้วย ข้าว อ้อย ต้นมะเขือเทศและมะละกอ
  2. ดูลักษณะและหน้าที่ส่วนต่างๆ ของพืช บันทึกชื่อ และบันทึกภาพ หรือวาดรูปลักษณะของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ของต้นไม้แต่ละชนิด

05 Materials

  1. คอมพิวเตอร์ 
  2. กล้องถ่ายรูป-กล้องจุลทรรศน์ 
  3. ปริ้นเตอร์
  4. รูปถ่ายพืชชนิดต่างๆ

06 Data Collection
สำรวจลักษณะรูปร่างของรากของพืชแต่ละชนิด

07 Analysis & Discussion
ลักษณะของรากของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของราก
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

06 Data Collection
สำรวจลักษณะรูปร่างของลำต้นของพืชแต่ละชนิด

07 Analysis & Discussion
ลักษณะของลำต้นของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของลำต้น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

06 Data Collection
สำรวจลักษณะรูปร่างของใบของพืชแต่ละชนิด

07 Analysis & Discussion
ลักษณะของใบของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของใบ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

06 Data Collection
สำรวจลักษณะรูปร่างของดอกของพืชแต่ละชนิด

07 Analysis & Discussion
ลักษณะของดอกของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของดอก
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

06 Data Collection
สำรวจลักษณะรูปร่างของผลของพืชแต่ละชนิด

07 Analysis & Discussion
ลักษณะของผลของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

08 Conclusion
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

09 Knowledge Tank
ส่วนต่างๆ ของพืชที่มีลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างกัน
โครงสร้างของพืช ประกอบด้วยส่วนหลัก คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกพืชตามลักษณะภายนอกดังต่อไปนี้

1. ราก เป็นส่วนที่งอกออกมาจากเมล็ดมีลักษณะเรียวยาว และแตกแขนงเป็นรากเล็กๆ ลงสู่ดินทำหน้าที่ดูดธาตุอาหารและน้ำ ลักษณะของรากสามารถแบ่งออกได้เป็น

1.1 รากแก้ว (Primary root หรือ Tap root) เป็นรากที่ใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ในการยึดลำต้นของพืชให้ติดกับดิน มีลักษณะตอนโคนรากจะใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวไปจนถึงปลายราก รากแก้วเป็นรากที่สำคัญที่สุด รากแขนงและรากฝอยก็จะแตกมาจากรากแก้ว

1.2 รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกออกจากโคนลำต้น สำหรับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รากฝอยจะงอกแทนรากแก้วที่ฝ่อไป เช่น ข้าว, ข้าวโพด, หญ้า, มะพร้าว เป็นต้น

2. ลำต้น ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกระบอกตั้งตรง และมีกิ่งก้าน ทำหน้าที่ชูกิ่งก้าน ใบ และดอก เป็นทางลำเลียงน้ำและธาตุอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช และสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ลักษณะลำต้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

2.1 ลำต้นตั้งตรงเดี่ยวหรือ ไม้ต้น (Tree) ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงเปลือกแข็งขนาดใหญ่ เช่น ต้นราชพฤกษ์, ต้นชมพู่, ต้นยาง เป็นต้

2.2 ไม้พุ่ม (Shrub) พืชที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ทำให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่มโดยพุ่มไม้นี้มีขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง เช่น ต้นชบา, ต้นชา, ต้นเข็มปัตตาเวีย เป็นต้น

2.3 ไม้ล้มลุก (Herb) ลำต้นอ่อนมีเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้นน้อย ลำต้นอ่อนนุ่ม เช่น แพงพวยฝรั่ง, พุทธรักษา, โบตั๋น เป็นต้น

2.4 ไม้เถาหรือไม้เลื้อย (Climber) ลักษณะลำต้นไปพันกับหลักหรือต้นไม้อื่นๆไม้เลื้อยไม่มีเนื้อไม้ เช่น แตงโม และไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ เช่น สะบ้าลิง มะเมื่อย

3. ใบ ทำหน้าที่สร้างอาหารหรือการสังเคราะห์แสง มีลักษณะเป็นแผ่นแบน รูปร่าง แตกต่างกันไป เช่น เส้นใบ รูปร่าง ขอบใบ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น

3.1 เส้นใบแบบขนาน

3.2 เส้นใบแบบร่างแห

3.3 แบ่งตามรูปร่างของใบ

3.4 ขอบของใบ เรียบหรือหยัก

4. ดอก มีสี รูปร่างแตกต่างกัน ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ แบ่งออกตามลักษณะ คือ

4.1 ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม

4.2 ดอกไม้ไม่มีกลิ่น

5. ผล ลักษณะคือมีเปลือก มีเนื้อห่อหุ้มเมล็ด และมีเมล็ดที่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ทำหน้าที่ในการขยายพันธุ์ แบ่งออกตามลักษณะของเมล็ดได้คือ

5.1 ผลที่มีเมล็ดเดี่ยว

5.2 ผลที่มีหลายเมล็ด

ตัวอย่างประโยชน์ของพืช

ตัวอย่างประโยชน์ของพืช

 

จำลองพืชที่รัก

Investigate : ลิปดาไปเที่ยวบ้านสวน เจอสิ่งหนึ่งที่ลอยมาในท้องฟ้าสวยงามมาก คุณยายบอกว่ามันคือส่วนของพืชชนิดหนึ่ง และคุณยายจึงพาลิปดาไปดูต้นไม้ชนิดนั้น ลิปดาอยากจำลองต้นไม้นี้

Missions : ให้นักเรียนศึกษาลักษณะรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืชที่นักเรียนชอบและจำลองรูปแบบลงในกระดาษสีต่างๆ เพื่อนำมาติดในโครงสร้างของพืชที่คุณครูเตรียมไว้ให้ พร้อมนำเสนอลักษณะและหน้าที่ของพืชชนิดนั้น

Materials :

  1. ไดคัทพืช
  2. อุปกรณ์เครื่องเขียนและตกแต่ง

Building&Testing

ให้นักเรียนสร้างแบบจำลองและทดสอบการนำเสนองานและทักษะที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการสร้างชิ้นงานนี้

Evaluation&Redesign

  1. นักเรียนพบปัญหาในการทำกิจกรรมนี้หรือไม่
  2. เมื่อพบปัญหานักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

Wind up animal

สัตว์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีส่วนต่างๆ ที่มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะในการดำรงชีวิต เช่น ปลามีครีบเป็นแผ่น ส่วนกบ เต่า แมว มีขา 4 ขา และมีเท้า สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับลักษณะและหน้าที่ของสัตว์มาสร้างสื่อเพื่อให้เห็นลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะของสัตว์ที่ชัดเจน

Missons :

  1. ให้นักเรียนศึกษาส่วนต่างๆ ของสัตว์ที่มีลักษณะและหน้าที่สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่
  2. จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสัตว์ที่สนใจมา 1 ชนิด เพื่อนำมาสร้างเป็น Wind up animal โดยครูจะมีส่วนที่เป็นไขลาน (Wind up) ให้นักเรียนสร้างเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ โดยเน้นอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่
  3. นำผลงานของกลุ่มตัวเองมาเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น แล้วสรุปผล

Materials :

  1. กระดาษการ์ด
  2. กระดาษสีต่างๆ
  3. สี
  4. อุปกรณ์ตกแต่ง

Plan & Design : อวัยวะหรือส่วนต่างๆ ของสัตว์มีหน้าที่และลักษณะแตกต่างกันหรือไม่

 

Challenge Activity

 

0 ITEMS IN CART
SUBTOTAL : ฿0
Proceed to Checkout