All content 6 Unit
แนวความคิด : คอปเตอร์ถ้วยกระดาษ สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้ ส่วนของใครจะลอยอยู่ได้นานกว่ากันนั้น ให้นักเรียนออกแบบและประดิษฐ์ทำเฮลิคอปเตอร์จากถ้วยกระดาษ
อุปกรณ์ :
ภารกิจ :
ให้นักเรียนทำกิจกรรมและตอบคำถามต่อไปนี้
01 Inspiration & Engagement
ลิปดาและโพล่าสังเกตเห็นใบไม้ปลิวลอยอยู่ในอากาศสักพักก็ตกลงสู่พื้น จึงสงสัยว่าใบไม้สามารถลอยไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่ตกลงมาได้ไหมนะ
02 Problem & Question
แรงโน้มถ่วงทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลกได้จริงหรือ
03 Definition
แรงโน้มถ่วงของโลก(Gravity) คือ แรงดึงดูดของโลกที่ดึงดูดวัตถุซึ่งกันและกันบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นผิวโลกและทำให้วัตถุมีน้ำหนัก
04 Hands – On Activity
05 Materials
06 Data Collection
07 Analysis & Discussion
มีวัตถุกี่ชนิดที่ตกลงสู่พื้นโลกบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
วัตถุที่นำมาสำรวจตกลงสู่พื้นโลกได้เพราะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
08 Conclusion
09 Knowledge Tank
วัตถุต่าง ๆ ที่ปล่อยจากที่สูง จะตกลงสู่ผิวโลกเสมอ เพราะแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ แรงดึงดูดของโลก (Gravitational force) เป็นแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุ มีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก และเป็นแรงไม่สัมผัส โดยแรงดึงดูดที่โลกกระทำกับวัตถุหนึ่งๆ ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลกและทำให้วัตถุมี น้ำหนัก (Weight) โดย เซอร์ไอแซก นิวตันสงสัยว่าแรงอะไรทำให้ผลแอปเปิ้ลตกสู่พื้นดิน และตรึงดวงจันทร์ไว้กับโลก สิ่งนี้เองนำไปสู่การค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง 3 ข้อ หรือที่เรียกว่า กฎของนิวตัน (Newton’s Law)
ดังนั้น เมื่อยกสิ่งของต่างๆ จะรู้สึกว่าสิ่งของเหล่านั้นมี น้ำหนัก เนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุซึ่งเมื่อต้องการยกวัตถุจึงจำเป็นต้องออกแรงเพื่อต้านแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ โดยการออกแรงยกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุนั้นมีน้ำหนักมากหรือน้อยน้ำหนักของวัตถุขึ้นกับ มวล (Mass) ของวัตถุโดยวัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมาก วัตถุที่มีมวลน้อยจะมีน้ำหนักน้อย
มวลน้อย (น้ำหนักน้อย) มวลมาก (น้ำหนักมาก )
แรงดึงดูดของโลกเป็นแรงไม่สัมผัส (non – contact)
หมายถึง แรงที่ไม่ต้องมีการสัมผัสกับวัตถุ แต่วัตถุสามารถเคลื่อนที่ได้ แรงประเภทนี้ได้แก่ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็ก และแรงไฟฟ้า เป็นต้น
แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าสถิต แรงโน้มถ่วง
ประโยชน์และโทษของแรงโน้มถ่วงของโลก
แรงโน้มถ่วงคือแรงที่ดึงดูดทุกอย่างเข้าสู่โลก การที่มีแรงดึงดูด ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก เป็นต้น
01 Inspiration & Engagement
ลิปดาและโพล่ากำลังเล่นม้าโยกแต่อยากรู้ว่าน้ำหนักของใครมากกว่ากัน เราสามารถวัดน้ำหนักได้อย่างไร และอะไรมีผลทำให้น้ำหนักแตกต่างกัน
02 Problem & Question
สามารถวัดน้ำหนักได้อย่างไร อะไรทำให้น้ำหนักแตกต่างกัน
03 Definition
น้ำหนัก (Weight) เกิดจากแรงดึงดูดที่โลกกระทำกับวัตถุหนึ่งๆ ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก และทำให้วัตถุมีน้ำหนัก วัดน้ำหนักของวัตถุได้จากเครื่องชั่งสปริง น้ำหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของ วัตถุ โดยวัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมาก วัตถุที่มีมวลน้อยจะมีน้ำหนักน้อย มวล (Mass) คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ
04 Hands – On Activity
05 Materials
06 Data Collection
07 Analysis & Discussion
ให้เรียงลำดับวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดไปยังวัสดุที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
ขนาดของวัสดุที่นำมาชั่งมีผลกับน้ำหนักหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
ถ้าขนาดของวัสดุไม่มีผลโดยตรงกับน้ำหนักอะไรมีผลต่อน้ำหนักของวัตถุ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
08 Conclusion
มวลกับน้ำหนักมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
มวล คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ
ภาพตัวอย่างที่ 1
จากภาพตัวอย่างที่ 1 แม้ขนาด ปริมาตร (Volume) ของ วัตถุที่ 1 และวัตถุที่ 2 จะเท่ากัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามวลและน้ำหนักของวัตถุทั้ง 2 ชนิดจะเท่ากันตามขนาดของวัตถุ เพราะมวลภายใน วัตถุที่ 2 มีความหนาแน่นมากกว่า วัตถุที่ 1 จึงทำให้ วัตถุที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่า วัตถุที่ 1 โดยสรุปน้ำหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมาก และวัตถุที่มีมวลน้อยจะมีน้ำหนักน้อย
ภาพตัวอย่างที่ 2
ขวดที่ 1 วัสดุภายในคือเหรียญโลหะ ขวดที่ 2 วัสดุภายในคือลูกบอลโฟม
จากภาพตัวอย่างที่ 2 แม้ขวดแก้วทั้ง 2 จะมีขนาดหรือปริมาตรเท่ากัน แต่วัสดุที่อยู่ภายในขวดแก้วทั้ง 2 แตกต่างกัน โดยวัสดุภายในขวดที่ 1 เป็นเหรียญโลหะที่มีความหนาแน่นมากกว่า วัสดุภายในขวดที่ 2 ที่เป็นลูกบอลโฟม ดังนั้น ขวดที่ 1 น่าจะมีน้ำหนักมากกว่า ขวดที่ 2 โดยสรุปได้ว่า
น้ำหนักของวัตถุแต่ละชนิดไม่ได้หมายความถึงปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดอย่างเดียวแต่จะหมายถึง ความหนาแน่น (Density) ของวัสดุที่อยู่ภายในวัตถุนั้นๆ ด้วย
มวลสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของวัตถุอย่างไร
มวล คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ โดยน้ำหนักของวัตถุจะขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ ถ้ามวลมากน้ำหนักก็จะมากและมวลน้อยน้ำหนักก็จะน้อยมวลยังมีผลต่อความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย ดังนั้น มวลของวัตถุนอกจากจะหมายถึงเนื้อทั้งหมดของวัตถุนั้นแล้วยังหมายถึงการต้านการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นด้วย
วัตถุที่ 1 มีความหนาแน่นน้อย มวลน้อย น้ำหนักน้อย (การต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่น้อย) วัตถุที่ 2 มีความหนาแน่นมาก มวลมาก น้ำหนักมาก (การต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่มาก)
จากภาพถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุทั้งสองขนาดเท่ากันวัตถุที่มีมวลน้อยกว่าจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลกว่า เนื่องจากแรงต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่น้อยกว่า
ความสัมพันธ์ของ ความหนาแน่น มวล และปริมาตรของวัตถุ
01 Inspiration & Engagement
วันนี้ลิปดานั่งดูสารคดีนกกระจอกเทศ ลิปดาสงสัยว่าเพราะเหตุใดนกกระจอกเทศซึ่งเป็นนกเหมือนกันแต่ทำไมถึงไม่บิน คุณพ่อจึงอธิบายว่าอาจเป็นเพราะเจ้านกกระจอกเทศมีมวลมากกว่านกชนิดอื่นจึง ทำให้มันเคลื่อนที่ได้ไม่เหมือนกับนกทั่วไปยังไงล่ะ
02 Problem & Question
มวลของวัตถุจะมีผลอย่างไรกับน้ำหนักและการเคลื่อนที่
03 Hypothesis
ถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่จะมีมวลมาก เคลื่อนที่ได้ยาก ถ้าวัตถุมีขนาดเล็กจะมีมวลน้อยเคลื่อนที่ได้ง่าย
ตัวแปรต้น คือ วัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น เม็ดโฟม ทราย ลูกปัด
ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของวัตถุ และขนาดของแรงที่ผลัก
ตัวแปรตาม คือ น้ำหนัก มวล และการเคลื่อนที่ของวัตถุ
04 Hands – On Activity
05 Materials
1. กล่อง 3 ใบ 2. เม็ดโฟม 3. ทราย 4. ลูกปัด 5. ตาชั่ง
06 Data Collection
07 Analysis & Discussion
08 Conclusion
แนวความคิด : วัดน้ำหนักของวัตถุได้จากเครื่องชั่งสปริง
อุปกรณ์ :
ภารกิจ :
สามารถใช้ตาชั่งสปริงวัดน้ำหนัก [ ] ได้ [ ] ไม่ได้ และน้ำหนักมีหน่วยเป็น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ถ้าวัตถุมีน้ำหนักน้อยสปริงจะเป็นอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ถ้าวัตถุมีน้ำหนักมากสปริงจะเป็นอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ขนาดของวัตถุมีผลกับน้ำหนักหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
น้ำหนัก คือ แรงดึงดูดที่โลกกระทำกับวัตถุหนึ่งๆ ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก และทำให้วัตถุมีน้ำหนัก น้ำหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของวัตถุ
มวล คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ ซึ่งมีผลต่อความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย ดังนั้น มวลของวัตถุนอกจากจะหมายถึงเนื้อทั้งหมดของวัตถุนั้นแล้วยังหมายถึงการต้านการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นด้วย จากความหมายของ น้ำหนักและมวล ให้ช่วยกันออกแบบและประดิษฐ์กิจกรรมตามภารกิจที่กำหนดให้เพื่อให้เข้าใจถึง น้ำหนัก มวล และแรงโน้มถ่วงของโลก
Missons :
Materials :
Plan & Design
วางแผนออกแบบงานตามภารกิจที่กำหนดให้
Challenge Activity
Investigate : ลิปดาอยากเล่นรถไฟเหาะในสวนสนุกเพราะเห็นรถไฟเหาะวิ่งด้วยความเร็วและโค้งไปตามรางดู น่าตื่นเต้น จึงคิดอยากจะนำวัสดุต่าง ๆมาประดิษฐ์ให้เป็นรถไฟเหาะของตนเอง
Missions :
Materials :
Plan & Design
วางแผนและออกแบบรถไฟเหาะตามเงื่อนไขและให้ลูกแก้วเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดโดยลูกแก้วไม่หลุดออกจากราง
Building & Testing
ทดสอบจับเวลาในการเคลื่อนที่ของลูกแก้วและปรับเปลี่ยนเพื่อให้ใช้เวลาน้อยที่สุด โดยให้ตรงตามเงื่อนไขและลูกแก้วไม่หลุดออกจากราง
Evaluation & Redesign
สถานะของสสาร (State of Matter)
สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว สามารถสัมผัส มีมวลต้องการที่อยู่ ภายในสสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร (Substance) ซึ่งมีสมบัติเฉพาะตัว สถานะของสสาร (State of matter) เป็นสภาพทางกายภาพที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งมีความสัมพันธ์กับ
โครงสร้างและคุณสมบัติของสสาร เช่น ความหนาแน่น, โครงสร้างผลึก สถานะของสสารที่ส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่
1. ของแข็ง คือ มีปริมาตรและรูปร่างคงที่ ตัวอย่างเช่น พลาสติก ไม้ หิน เหล็ก ทอง ดิน ทราย เป็นต้น
2. ของเหลว คือ มีปริมาตรคงที่ แต่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะ ตัวอย่าง เช่น น้ำ น้ำมันพืช นม น้ำผึ้ง น้ำมันเบนซิน แอลกอฮอล์ เป็นต้น
3. แก๊ส คือ มีปริมาตรและรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ตัวอย่างเช่น อากาศ แก๊สฮีเลียม แก๊สหุงต้ม เป็นต้น
Investigate :
สสารต่างๆ มีสถานะที่แตกต่างกัน ต้องมีวัดมวลและปริมาตรของสสารทั้ง 3 สถานะ ลิปดาจึงคิดอยากจะประดิษฐ์อุปกรณ์วัดมวลและปริมาตรเพื่อไว้ใช้งานเอง คุณปู่จึงบอกว่า อย่างนั้นก็ต้องประดิษฐ์ถ้วยยูเรก้าและตาชั่งสปริงเพื่อเก็บไว้ใช้งานแล้วล่ะ
Missions :
Materials :
วัสดุตามที่คุณครูกำหนดให้
Plan & Design
ให้นักเรียนออกแบบและวางแผนการทำงานพร้อมนำเสนอวิธีเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสสารทั้ง 3 สถานะ
Building & Testing
Evaluation & Redesign