เนื้อหาทั้งหมด 6 หน่วยการเรียน
แนวความคิด : แบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกันการหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
อุปกรณ์ :
ภารกิจ :
ให้นักเรียนทำกิจกรรมและตอบคำถามต่อไปนี้
ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของโลก [ ] จริง [ ] ไม่จริง
ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะที่หมุนรอบโลกขณะโลกหมุนรอบตัวเอง [ ] จริง [ ] ไม่จริง
การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา [ ] จริง [ ] ไม่จริง โดยเมื่อมอง
จากขั้วโลกเหนือจะมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นและตกทิศใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
01 Inspiration & Engagement
ตอนนี้เป็นเวลากลางคืน ลิปดาและโพล่าจึงถามอาจารย์กั๊กว่าดวงจันทร์จะออกมาไหมคะแล้วจะออกมาทางทิศไหน (ขึ้นและตกทางทิศทางไหน) และจะเหมือนเดิมทุกวันหรือไม่คะ
02 Problem & Question
ดวงจันทร์ขึ้นและตกทางทิศไหนกันและจะเหมือนกันทุกวันหรือไม่
03 Definition
ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกัน การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ทำให้มองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกหมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำๆ โดยดวงจันทร์เป็นวัตถุที่เป็นทรงกลมแต่รูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นหรือรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน
04 Hands – On Activity
05 Materials
06 Data Collection
ให้สำรวจเวลาและทิศ การขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยให้สังเกตในวันแรมหรือวันขึ้น 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, และ15 ค่ำ รวมระยะเวลาทั้งหมด 7 วัน บันทึกและอภิปรายร่วมกัน
07 Analysis & Discussion
08 Conclusion
อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
09 Knowledge Tank
การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในทิศทางเดิม เนื่องจาก โลกของเราหมุนรอบตัวเอง โดยเมื่อตัวเรายืนอยู่บนผิวโลกเราก็จะหมุนเคลื่อนที่ตามการหมุนของโลกเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากเรายืนอยู่บนโลกที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราและโลกมีการเคลื่อนที่อยู่และยังทำให้เราเข้าใจผิดว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่รอบโลก แต่ความจริงแล้วคือ ดวงอาทิตย์อยู่นิ่งกับที่โลกหมุนทวนเข็มนาฬิกาทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกในทิศตะวันตก โดย 1 รอบการหมุนของโลก ก็คือ 1 วันหรือ ประมาณ 24 ชั่วโมง
เมื่อเวลา 6.00 น. ตอนเช้า
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก พระอาทิตย์จะอยู่ขวามือของลิปดา
เมื่อเวลา 12.00 น. ตอนเที่ยง
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ
เมื่อเวลา 18.00 น. ตอนเย็น
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก พระอาทิตย์จะอยู่ซ้ายมือของลิปดา
ลักษณะของการขึ้นและตกของดวงจันทร์
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ กินเวลา 24 ชั่วโมง ในขณะที่ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลกใช้เวลา 27.3 วัน ทำให้ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ช้ากว่าการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจึงเห็นดวงจันทร์มาปรากฏให้เห็น ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวันจึงทำให้เห็นรูปร่างของ ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปทุกวันแต่จะเห็นดวงจันทร์ขึ้นในทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์เพราะการหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกาของโลกไม่ใช่การที่ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เคลื่อนที่รอบโลก
เมื่อเวลา 19.00 น. ตอนพลบค่ำ
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออกพระจันทร์จะอยู่ขวามือของลิปดา
เมื่อเวลา 12.00 น. ตอนเที่ยงคืน
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์อยู่เหนือศีรษะ
เมื่อเวลา 5.00 น.
ตอนใกล้รุ่งเช้า
ลิปดายืนอยู่บนประเทศไทยหันหน้าไปทางทิศเหนือลิปดาจะเห็นพระจันทร์ตกทางทิศตะวันตกพระจันทร์จะอยู่ซ้ายมือของลิปดา
ลักษณะการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ลักษณะการขึ้นและตกของดวงจันทร์
โลกและดวงจันทร์
ดวงจันทร์เป็นบริวารดวงเดียวของโลก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร เล็กกว่าโลกประมาณ 1 ใน 4 โดย ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางโลกถึงศูนย์กลางดวงจันทร์ประมาณ 384,467 กิโลเมตร ในปี ค.ศ. 1969 มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ คือ นีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก ขณะที่โลกก็หมุนรอบตัวเองด้วยเช่นกัน การหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากขั้วโลกเหนือ ทำให้มองเห็นดวงจันทร์ปรากฏขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและตกทางด้านทิศตะวันตกหมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำๆ
ลักษณะดวงจันทร์ในแต่ละคืน
“ดวงจันทร์” เป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบสุริยะ โดยเป็นดาวบริวารของโลกและเป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง (ดาวเคราะห์) แต่แสงที่เราเห็นนั้น เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบดวงจันทร์แล้วสะท้อนมายังโลก การมองเห็นดวงจันทร์ในรูปลักษณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ โดย ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกา 1 รอบ 27.3 วัน ในขณะเดียวกันโคจรรอบโลก (มีลักษณะเป็นวงรี) 1 รอบ กินเวลา 27.3 วัน เท่ากันทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ในด้านเดียวเสมอ ซึ่งเรียกว่า ด้านใกล้ ส่วนด้านที่เรามองไม่เห็นจะเรียกว่า ด้านไกล
ในขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลก ก็จะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วย เช่นกัน ทำให้มุมระหว่าง ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ – โลก เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา ทำให้มองเห็นดวงจันทร์จากโลกในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะซ้ำรอบทุก ๆ ช่วง 29.5 วัน ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ข้างขึ้น-ข้างแรม”3
การอ่านข้างขึ้น-ข้างแรม
ปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้จะบอกข้างขึ้นข้างแรม โดยเฉพาะปฏิทินแบบไทย คือแบ่งเดือนทางจันทรคติออกเป็น 30 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ – วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ – วันแรม 15 ค่ำ โดยถือ ให้วันขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง), วันแรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดทั้งดวง), วันแรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 8 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง) เป็นวันพระ4 วันใน 1 เดือน
จากตัวอย่างปฏิทินเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 หรือ ค.ศ. 2017 วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำคือวันที่ 28 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 12 มกราคม (วันที่ดวงจันทร์เต็มดวง) หลังจากนั้น วันที่ 13 มกราคม ถึง วันที่ 27 มกราคม เป็นวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ (วันที่ดวงจันทร์มืดทั้งดวง) และวันที่ 28 มกราคม ก็กลับมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำอีกครั้งหนึ่ง โดยวันแรม 8 ค่ำและวันขึ้น 8 ค่ำ ก็คือ วันที่ 5 และวันที่ 20 มกราคม ก็คือวันพระ โดยรูปร่างของดวงจันทร์จะแบ่งออกได้เป็น 8 ระยะดังนี้
ดวงจันทร์เป็นวัตถุที่เป็นทรงกลม แต่รูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นหรือรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันดวงจันทร์จะมีรูปร่างปรากฏเริ่มเป็นเสี้ยว ระยะที่ 2 และมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเต็มดวง ระยะที่ 5 จากนั้นรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์จะแหว่งและมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นดวงจันทร์กลายเป็น ระยะที่ 1 อีกครั้งจากนั้นรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยวใหญ่ขึ้นจนเต็มดวงอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นแบบรูปซ้ำกันทุกเดือน
รูปร่างของดวงจันทร์ (Lunar Phases) ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน รูปร่างจะเปลี่ยนไปตามระยะต่างๆ หรือ เฟส (phases) เกิดจากการมองเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์ ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบดวงจันทร์แล้วสะท้อนมายังโลกในมุมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับดวงจันทร์จะอยู่ตรงตำแหน่งใด แบ่งเป็น 8 ระยะดังนี้ คือ
01 Inspiration & Engagement
ลิปดาเห็นข่าวภัยพิบัติต่างๆ มากมาย เนื่องจากมนุษย์ใช้ทรัพยากรและทำลายโลกอย่างมากมายถ้ามนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้แล้ว เราจะสามารถไปอยู่ดาวดวงไหนได้บ้างนะ
02 Problem & Question
แสงทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร
03 Definition
ระบบสุริยะจักรวาล หมายถึง ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีวัตถุจำนวนหนึ่งถูกดึงดูดให้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์บริวารทั้ง 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และยังประกอบด้วยดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์
04 Hands – On Activity
05 Materials
06 Data Collection
ให้สำรวจ และนับจำนวนสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องมืดหรือกล่องดำแล้วบันทึกลงในตาราง
07 Analysis & Discussion
จากตารางให้นักเรียนเรียงลำดับดาวเคราะห์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดไปหาเล็กที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ระบบสุริยะ หมายถึง ระบบที่มี ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางและมีวัตถุจำนวนหนึ่งถูกดึงดูดให้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์บริวาร ทั้ง 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุทธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน และยังมีดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย , ดาวหาง , ดาวตกหรืออุกกาบาตและดวงจันทร์ ซึ่งดาวเหล่านี้จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบตัวเองด้วย
1. ดวงอาทิตย์ (Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ทรงกลมขนาดใหญ่ ที่มีแสงสว่างในตัวเอง เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล มีอายุ 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์นอกจากจะทำหน้าที่ให้ความร้อนและให้แสงสว่างแก่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะแล้วนั้นยังมีความสำคัญต่อโลกของเรา เช่น ให้พลังงานความร้อน และพลังงานแสงรวมถึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติด้วย
ข้อมูลจำเพาะของดวงอาทิตย์
2. ดาวเคราะห์บริวาร (Planets)
คือบริวารขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์มี 8 ดวง เรียงลำดับจากใกล้ไปไกล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ทั้ง 8 โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระนาบใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถีดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวงแรก
มีองค์ประกอบหลักเป็นของแข็ง ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวงหลังมีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซไฮโดรเจนเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์เกือบทุกดวงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน
เราสามารถแบ่งประเภทของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งที่ต่างกันได้ ดังนี้ (ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
www.lesa.biz)
1. ใช้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ เป็น 2 ประเภท
1.1 ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ เราจึงมองเห็นดาวเคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเวลาพลบค่ำหรือเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น
1.2 ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือตกเมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่าดาวเคราะห์ชั้นนอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้างคงที่ เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ
2. ใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์ แบ่งดาวเคราะห์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) หรือ ดาวเคราะห์แข็ง (Terrestrial planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง
2.2 ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) หรือ ดาวเคราะห์ก๊าซ (Giant Gas – Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะบรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ภายใน และเป็นดวงจันทร์บริวาร
สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบนวัตถุที่เข้ามาใกล้ แล้วแตกสลายกลายเป็นวงแหวน
หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์ ดังนั้นหากดาวเคราะห์ก๊าซสามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์และหากนำบรรยากาศที่หนาแน่นด้วยก๊าซไฮโดรเจนนี้ออกไปดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง เช่น ดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง
2.1 ดาวพุธ (Mercury)
เป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก ได้รับ สมญานามว่า เตาไฟแช่แข็ง เนื่องจากโครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่
พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมายคล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่ และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป สันนิษฐานว่าแอ่งที่ราบขนาดใหญ่เช่นนี้ เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ
ข้อมูลจำเพาะของดาวพุธ
2.2 ดาวศุกร์ (Venus)
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก ชั้นบรรยากาศมีความหนาทึบ หนาแน่นกว่าโลก 100 เท่า ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกซึ่งจะกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่า
ข้อมูลจำเพาะของดาวศุกร์
2.3 โลก (Earth)
โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ได้รับสมญานามว่า ดาวมหาสมุทร เนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยน้ำ 3 ใน 4 บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ช่วยในการกักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศโดยอาศัยภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกมีความอบอุ่น เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเหมาะต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
ข้อมูลจำเพาะของโลก
2.4 ดาวอังคาร (Mars)
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ได้รับสมญานามว่า ดาวเทพแห่งสงคราม เนื่องจากพื้นผิวมีสีแดง เต็มไปด้วยหิน ฝุ่นและหุบเหว มีบรรยากาศเบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง
ข้อมูลจำเพาะของดาวอังคาร
2.5 ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
เป็นดาวเคราะห์ ดวงที่ 5 ที่มีความสว่างมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ ได้รับสมญานามว่า โลกยักษ์ เพราะเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ แต่หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง แรงหนีศูนย์กลางเหวี่ยงให้ดาวมีสัณฐานเป็นทรงแป้นและทำให้การหมุนเวียนของชั้นบรรยากาศแบ่งเป็นแถบสีสลับกันมี จุดแดงใหญ่บริเวณ ด้านใต้ของดาว ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซร้อนหมุนวนด้วยความเร็วสูง
ข้อมูลจำเพาะของดาวพฤหัสบดี
2.6 ดาวเสาร์ (Saturn)
เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะกาลิเลโอพบดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153 ได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งเกษตร เนื่องจากมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงมาก สามารถดูดจับดาวเคราะห์น้อยและดาวหางมาเป็นบริวาร ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีวงแหวนที่เป็นลักษณะเด่นที่สวยงามถึง 7 ชั้น ปัจจุบันมีดวงจันทร์ที่ถูกค้นพบแล้ว 62 ดวง ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือไททัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ ไททัน มีชั้นบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลก มีลักษณะคล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์สนใจมากเพราะอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลจำเพาะของดาวเสาร์
2.7 ดาวยูเรนัส (Uranus)
ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเลี่ยม เฮอส์เชล ในปี พ.ศ. 2534 สองร้อยปีต่อมายานวอยเอเจอร์ 2 ทำการสำรวจดาวยูเรนัสในปี พ.ศ. 2529 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของระบบสุริยะ บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83% ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากก๊าซมีเทนดูดกลืนสีแดงและสะท้อนสีน้ำเงิน บรรยากาศมีลมพัดแรงมาก ลึกลงไปที่แก่นของดาวห่อหุ้มด้วยโลหะไฮโดรเจนเหลว
ข้อมูลจำเพาะของดาวยูเรนัส
2.8 ดาวเนปจูน (Neptune)
เป็นดาวเคราะห์ที่ 8 ของระบบสุริยะ ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส คือ มีบรรยากาศเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน เจือปนอยู่จึงมีสีน้ำเงิน ดาวเนปจูนมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัสเล็กน้อย แต่มีความหนาแน่นมากกว่า โดยที่แกนของดาวเนปจูนเป็นของแข็งมีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเรา ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง แต่ละวงมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส
ข้อมูลจำเพาะของดาวเนปจูน
3. ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets)
เป็นนิยามของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union)
4. ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
คือ เทหวัตถุที่แตกออกมาจากดาวเคราะห์เมื่อนานมาแล้ว หรือเกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์น้อยกันเองและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ได้ ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดเป็นกิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบหลักเป็นหิน แต่บางดวงมีโลหะปนอยู่ ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ที่ “แถบดาวเคราะห์น้อย”(Asteroid belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ห่างจากโลกประมาณ
150-340 กิโลเมตร
ดาวเคราะห์น้อยมีรูปทรงเหมือนอุกกาบาตแต่เนื่องจากมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยไม่สามารถยุบรวมเนื้อดาวให้มีรูปร่างทรงกลม วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย มีความรีมากกว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ โดยวงโคจรส่วนใหญ่เอียงทำมุมกับระนาบวงโคจรปกติ (สุริยวิถี) เล็กน้อย ในปัจจุบันได้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยมากกว่า 3 แสนดวง ดาวเคราะห์น้อยซีรีส (Ceres) ซึ่งอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้รับการเลื่อนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระในปัจจุบัน
5. ดาวหาง (Comets)
เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยแต่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีแคบ และทำมุมเอียงตัดกับระนาบของสุริยวิถีเป็นมุมสูง ดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็ง (Ice water) ฝุ่นละอองและก๊าซในสถานะของแข็ง เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้มวลของดาวหางระเหิดกลายเป็นก๊าซ ลมสุริยะเป่าก๊าซเหล่านี้ให้พุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นหางยาวหลายล้านกิโลเมตร (ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ www.lesa.biz)
7. ดาวตก (meteor) ฝนดาวตก และอุกกาบาต (Meteorite)
เกิดจาก สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งก็คือเศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่นและเมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็น ดาวตก (meteor) และสะเก็ดดาวนั้นหลงเหลือจากการเสียดสีตกลงถึงพื้นดินจะเรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือผีพุ่งไต้ (meteor)
ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ หลุมอุกกาบาต ฝนดาวตก
ฝนดาวตก (meteor shower) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกจำนวนมากในอัตราที่ถี่กว่าปกติ
ในสภาวะปกติที่ไม่มีฝนดาวตกนั้น จะเกิดดาวตกประมาณ 10 ดวงต่อชั่วโมง แต่ในช่วงที่เกิดฝนดาวตก จะมีดาวตกเกิดขึ้นมาก อาจจะถี่ถึงหลายสิบดวงหรือกว่าร้อยดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกเกิดจากการที่โลกโคจรเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต สะเก็ดดาวเหล่านี้เป็นเศษขยะที่เกิดจากดาวหางเคยโคจรผ่านเข้ามา เมื่อโลกโคจรฝ่าเข้าไป ฝุ่นหรือเศษขยะเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตกและเนื่องจากอัตราการตกนี้ถี่กว่าอัตราการตกในสภาวะปกติ เราจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตก
8. ดวงจันทร์ (Moons หรือ Satellites)
หมายถึง ดาวที่เป็นบริวารโคจรรอบดาวเคราะห์อีกทีหนึ่ง มิได้โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง โลกมีบริวารชื่อ ดวงจันทร์ (The Moon) โคจรล้อมรอบ ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีดวงจันทร์บริวารโคจรล้อมรอบเช่นกัน ยกตัวอย่าง ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวง (Galilean moons) ชื่อไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนีมีด (Ganymede) และคัลลิสโต (Callisto) ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ชื่อ ไททัน (Titan)
ดาวไอโอ และไททัน
ดาวไอโอ และไททัน
01 Inspiration & Engagement
ลิปดากับโพล่าเล่นละครเงามือกันอยู่ โพล่าสังเกตเห็นเงาของขวดน้ำ จึงสงสัยว่า เพราะเหตุใดขวดน้ำจึงมีเงาที่จางกว่าเงาของมือกันนะ ดร.วีจึงบอกว่าเป็นเพราะตัวกลางของแสงไงล่ะ
02 Problem & Question
ตัวกลางแต่ละชนิดทำให้แสงผ่านได้อย่างไร
03 Hypothesis
ถ้าแสงผ่านตัวกลางประเภทต่าง ๆ จะทำให้เกิดผลอย่างไร
ตัวแปรต้น คือ ฉากกันแสง 3 อัน พร้อมเจาะรู
ตัวแปรควบคุม คือ แสงจากแหล่งกำเนิดแสงไฟฉาย
ตัวแปรตาม คือ ลักษณะของแสงที่ผ่านตัวกลางแบบต่าง ๆ
04 Hands – On Activity
05 Materials
06 Data Collection
ให้สำรวจ และนับจำนวนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องมืดหรือกล่องดำ บันทึกลงในตาราง
07 Analysis & Discussion
วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วเกิดเงาชัดเจนมีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วเกิดเงาจางๆ มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
วัตถุที่แสงส่องผ่านแล้วไม่เกิดเงามีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………............
วัตถุใดเมื่อมองแล้วเห็นเทียนไขชัดเจน มีอะไรบ้าง……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
วัตถุใดเมื่อมองแล้วเห็นเทียนไขจางๆ มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
วัตถุใดเมื่อมองแล้วไม่เห็นเทียนเลย มีอะไรบ้าง………………………………………………………………………………………………………………………………………………………........
08 Conclusion
ตัวกลางโปร่งใสเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด…………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวกลางโปร่งแสงเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด……………………………………………………………………………………………………………………..
วัตถุทึบแสงเมื่อนำมาส่องผ่านวัตถุจะมองเห็นได้ในลักษณะใด…………………………………………………………………………………………………………………………………
09 Knowledge Tank
ตัวกลางของแสงแสงเดินทางเป็นแนวเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทางแสงจะเคลื่อนที่ผ่านอากาศหรือเคลื่อนที่ผ่านสิ่งต่าง ๆ เราเรียกว่า ตัวกลาง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ตัวกลางโปร่งใส (Transparent) คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมดซึ่งทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เช่น กระจกใส อากาศ แก้ว ขวดโหลใส พลาสติกใส น้ำที่ใสสะอาด เป็นต้น
2. ตัวกลางโปร่งแสง (Translucent) คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้างบางส่วน ทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน เช่น กระดาษไข กระจกฝ้า หมอก แผ่นฟิล์มกรองแสง เป็นต้น
3. วัตถุทึบแสง (Opaque) คือ ตัวกลางที่ไม่ยอมให้แสงผ่านได้ ทำให้มองไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ เช่น กระจกเงา กระดาษแข็ง แผ่นไม้กระเบื้อง แผ่นเหล็ก ก้อนอิฐ เป็นต้น
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ โปร่งแสง และทึบแสง จะเกิดเงาขึ้นมา ซึ่งเงาของแสงที่เกิดจาก วัตถุทึบแสง จะเรียกว่า เงามืด และเงาของแสงที่เกิดจากวัตถุโปร่งแสง จะเรียกว่า เงามัว
ระบบสุริยะ เป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวารประกอบด้วย ดาวเคราะห์แปดดวง และบริวาร ซึ่งดาวเคราะห์แต่ละดวงมีขนาดและระยะห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน และยังประกอบด้วย ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ วัตถุขนาดเล็กอื่นๆ เมื่อเข้ามาในชั้นบรรยากาศเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เกิดเป็นดาวตกหรือผีพุ่งไต้และอุกกาบาต
ลิปดาดูข่าวในทีวีว่าดาวหางฮัลเลย์จะโคจรมาใกล้โลกเลยสงสัยว่าดาวหางมันมีลักษณะเป็นอย่างไรแล้วจะตกลงมาบนโลกได้ไหมนะ โพล่าเลยชวนเด็ก ๆ สร้างดาวหางจำลองกัน
Missons :
Materials :
Plan & Design
ดาวหางกับอุกกาบาตมีวิธีทำอย่างไร ให้ค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น
Challenge Activity
Investigate : ลิปดาชอบชวนคุณแม่มองดวงจันทร์บนท้องฟ้าทุกคืนสังเกตเห็นว่าทำไมแต่ละคืนเราถึงมองเห็นดวงจันทร์แตกต่างกันบางคืนดวงจันทร์เต็มดวงบางคืนเห็นดวงจันทร์แค่เสี้ยวหนึ่งจึงเกิดความสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
Missions :
Materials :
Plan & Design
ให้นักเรียนวางแผนและออกแบบกล่อง Lunar phases พร้อมอธิบายหลักการทำงานของกล่อง Lunar phases (ค 3.1.1)
Building & Testing
ประดิษฐ์และทดสอบการทำงานของกล่อง Lunar phases
Evaluation & Redesign
Investigate : ลิปดาไปเที่ยวท้องฟ้าจำลองมาและอยากจะเรียนรู้เรื่องของระบบสุริยะให้เข้าใจมากขึ้นจึงชวนโพล่ามาสร้างระบบสุริยะจำลอง ตามข้อมูลที่หามาได้
Missions :
Materials :
Plan & Design
วางแผนและออกแบบระบบสุริยะ(Engineering)
Building & Testing
ให้ประดิษฐ์ชิ้นงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ พร้อมอธิบายเปรียบเทียบคาบโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ จากแบบจำลอง
Evaluation & Redesign