สะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์) ป.1 หน่วย 8 ลักษณะภายนอกของหินจากลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกตได้
ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 1
หน่วยที่ : 8
เรื่อง : ลักษณะภายนอกของหิน
สาระ : สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ
ตัวชี้วัด :
ว 3.2.1 อธิบายลักษณะภายนอกของหินจากลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกตได้
บทนำของเรื่อง :
หินเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลก และยังเป็นวัตถุต้นกำเนิดดินอีกด้วย ปัจจุบันเรานำหินชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์มากมายแตกต่างกัน เนื่องจากหินมีลักษณะภายนอกที่ต่างกัน การเลือกใช้หินจึงขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของหินชนิดนั้น
กิจกรรมที่ 1 สำรวจหินในธรรมชาติรอบตัวเรา
คำสั่ง : จากภาพให้นักเรียนสังเกตลักษณะภายนอกเฉพาะตัวที่สังเกตได้ของหิน 2 ชนิดและเขียนรายละเอียดว่ามีลักษณะภายนอกอย่างไรบ้างและอธิบายความเหมือนและแตกต่างของหินทั้งสองชนิด
ลักษณะที่เหมือนกันของหินทั้งสองชนิดคือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ลักษณะที่แตกต่างกันของหินทั้งสองชนิดคือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม
ลักษณะภายนอกเฉพาะตัวที่สังเกตได้ของหิน
สีของหิน (Color)
คือ หินแต่ละก้อนจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีน้ำตาล สีดำ เป็นต้น
ลวดลาย (Pattern)
คือ ลวดลายในเนื้อหินแต่ละชนิดที่เกิดจากการทับถม ทับซ้อนกันของหินเป็นชั้นๆ หรือบางชนิดอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิต
น้ำหนัก (Weight)
คือ ค่าน้ำหนักของหินแต่ละก้อนเปรียบเทียบโดยการชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งหรือตาชั่ง
ความแข็ง (Hardness)
คือ ความคงทนต่อการขีดขูด ซึ่งวิธีทดสอบความแข็ง โดยการนำหินแร่มาขูดกันเองหรืออาจเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น เช่น เล็บ ตะปู
เนื้อหิน (Texture)
คือ ขนาดและการเรียงตัวของเม็ดแร่ในหิน และการยึดเกี่ยวกันของแร่ต่างๆ เช่น เนื้อหยาบ เนื้อละเอียด
หินที่พบในประเทศไทย
ในท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่จะพบหินมีอยู่ทั่วๆ ไป เช่นเดียวกับท้องถิ่นอื่นๆ ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรจำพวกหินในปริมาณมาก ซึ่งกระจายอยู่เกือบทั่วทุกจังหวัด หินจะมีแร่เป็นส่วนประกอบ ดังนั้น แหล่งที่มีหินก็จะมีแร่ที่อยู่ในหิน ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
ลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ของหิน
01 Inspiration & Engagement
ลิปดาเห็นคุณแม่ลับมีด โดยใช้หินจึงสงสัยว่า ทำไมคุณแม่ใช้หินลับมีดได้ล่ะคะ คุณแม่บอกว่าก็เพราะว่าหินมีความแข็งกว่าโลหะเหล็กไงล่ะจ๊ะ จึงลับมีดได้ ลิปดาบอกว่า แล้วอย่างนี้เราใช้หินได้ทุกชนิดหรือไม่ คุณแม่จึงอธิบายให้ฟังว่า ไม่ได้จ้า เพราะหินมีลักษณะที่แตกต่างกัน
02 Problem & Question
หินแต่ละชนิดมีลักษณะภายนอกเฉพาะตัวที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
03 Definition
หิน (Rock) คือ มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ หินมีหลายลักษณะที่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะที่สังเกตได้เป็นเกณฑ์ เช่น สี ลวดลาย น้ำหนัก ความแข็ง และเนื้อหิน
04 Hands – On Activity
1.ให้สำรวจตัวอย่างหินที่มีในประเทศไทยหรือที่คุณครูเตรียมมาไว้ให้โดยให้สำรวจตามลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ของหิน เช่น สี ลวดลาย น้ำหนักความแข็งและเนื้อหิน
2.โดยให้ทดสอบน้ำหนักด้วยการชั่ง
3.ให้ทดสอบความแข็งด้วยการนำมาถูกกับวัสดุทดสอบความแข็งและสังเกตรอยที่เกิดขึ้นว่าเกิดมากหรือน้อย
05 Materials
1. ตัวอย่างหิน 2. วัสดุทดสอบความแข็ง 3. ตาชั่ง
06 Data Collection
ให้ติดภาพหินและเขียนชื่อหิน
สังเกตและบันทึกลักษณะภายนอกที่สังเกตได้ของหิน
07 Analysis & Discussion
หินชนิดใดที่มีลักษณะของสี ลวดลาย คล้ายกันมากที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หินชนิดใดที่มีลักษณะความแข็งใกล้เคียงกันมากที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หินชนิดใดที่มีเนื้อหินใกล้เคียงกันมากที่สุด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
08 Conclusion
ลักษณะภายนอกเฉพาะตัวที่สังเกตได้ของหิน เช่น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ให้นักเรียนอธิบายลักษณะภายนอกของหินมา 1 ชนิด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
09 Knowledge Tank
1.สีของหิน หินแต่ละก้อนจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีน้ำตาล สีดำ เป็นต้น สีของ หินเกิดจากแร่ธาตุที่เจือปนอยู่ในหิน หินก้อนหนึ่งอาจจะมีสีมากกว่า 1 สีก็ได้ เช่น
2.เนื้อหิน (Texture) หมายถึง ขนาดและการเรียงตัวของเม็ดแร่ในหินและการยึดเกี่ยวกันของแร่ต่างๆ จะเป็นตัวบอกประวัติการเย็นตัว หินชนิดต่างๆ มีดังนี้
3. ลวดลาย หมายถึง ลวดลายในเนื้อหินแต่ละชนิดที่เกิดจากการทับถม ทับซ้อนกัน ของหินเป็นชั้นๆ หรือบางชนิดอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิต
4. ความแข็ง (Hardness) ความคงทนต่อการขีดขูด ซึ่งวิธีทดสอบความแข็ง ทำได้โดยเอาแร่ที่ต้องการทดสอบ 2 ชนิด ชนิดหนึ่งควรจะรู้ค่า (หรืออาจเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นเช่น เล็บ ตะปู เหรียญทองแดง มีด)
5. น้ำหนัก (Mass) หรือความหนาแน่น (Density) ของหิน คือ อัตราส่วนของมวลต่อปริมาตร โดยการวัดค่ามวลด้วยการชั่งน้ำหนักแล้วหารด้วยปริมาตร
ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรม
การเกิดหิน
หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ ประกอบขึ้นเป็นแผ่นเปลือกโลก หินอัคนี 1 เกิดจากหินหนืดหรือแมกมา (Magma) ที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาผ่านปากปล่องภูเขาไฟเป็น ลาวา 3 ไหลออกมาเจอความเย็นจาก น้ำทะเล 4 ก็จะกลายเป็น หินบะซอลต์ 5 บางส่วนที่เป็น เถ้าภูเขาไฟ 2 ลอยขึ้นในอากาศตกลงมารวมตัว กัดกร่อน หรือผสมกับซากพืชซากสัตว์จับตัวกันกลายเป็น หินตะกอน 6 และเมื่อเวลาผ่านไปเกิดการอัดแน่นรวมกันเป็น หินแปร 7 บางส่วนอัดแน่นรวมกับหินอัคนีอีกครั้งจะกลายเป็น ชั้นหินแกรนิต 8 ซึ่งหินแต่ละชนิดจะมีลักษณะภายนอกที่สังเกตได้แตกต่างกันตามแร่ธาตุกระบวนการเกิดนั้นเอง
ทำไมไม่มีดวงดาวตอนกลางวัน
01 Inspiration & Engagement
วันนี้ลิปดาสังเกตเห็นดาวตอนประมาณห้าโมงเย็นตกใจมากจึงไปถามคุณพ่อว่าทำไมวันนี้มีดาวตอนกลางวันคะ ต้องเกิดเรื่องไม่ดีแน่ๆ เลย คุณพ่อตอบว่าที่จริงแล้วเราควรจะเห็นดาวทั้งกลางวันและกลางคืนแต่เนื่องจากแสงของดวงอาทิตย์จ้ามากทำให้เรามองไม่เห็นดาวในตอนกลางวัน
02 Problem & Question
เพราะแสงของดวงอาทิตย์จ้าเกินไปทำให้เราไม่เห็นดาวในตอนกลางวัน
03 Definition
เพราะแสงที่จ้าของดวงอาทิตย์ทำให้การมองเห็นดาวในตอนกลางวัน
[ ] เห็น [ ] เห็นไม่ชัดเจน [ ] ไม่เห็น
04 Hands – On Activity
1. ให้นักเรียนมองเข้าไปในกล่องที่ครูเตรียมมา บันทึกสิ่งที่เห็น
2. ให้นำไฟฉายที่มีความสว่างแตกต่างกัน 3 กระบอกโดยไฟฉายความสว่างมากที่สุดแทนดวงอาทิตย์ไฟฉายความสว่างน้อยกว่าแทนดวงดาว 2 ดวง
3. ให้สังเกตการมองเห็นดวงดาวที่อยู่ในกล่อง
4. บันทึกผลและอภิปราย
05 Materials
1.กล่องมืด ที่เจาะรูเล็กๆ แทนดวงดาว 2.ไฟฉาย 2 กระบอก (หรือหลอดไฟที่มีความเข้มแสงต่างกัน)
06 Data Collection
07 Analysis & Discussion
แสงจากไฟฉายแทนดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการมองเห็นดวงดาวอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
08 Conclusion
เรามองไม่เห็นดวงดาวในเวลากลางวันเพราะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ส่วนในเวลากลางคืนจะมองเห็นดาวและดวงจันทร์เกือบทุกคืนเพราะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
09 Knowledge Tank
ดวงอาทิตย์ (Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ทรงกลมขนาดใหญ่ ที่มีแสงสว่างในตัวเองเป็นศูนย์กลางของ ระบบสุริยะจักรวาล เป็นดาวฤกษ์ มีอายุ 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์ทำหน้าที่ให้ความร้อนและให้แสงสว่างทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติด้วย ดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าโลก 1,300,000 เท่า มีความสว่างสูงสุด 600,000 เท่าของความสว่างของดวงจันทร์ จริงๆ ดวงอาทิตย์มีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง (เนื่องจากการกระเจิงของแสง)
ดวงดาวในระบบสุริยะ
ดวงดาว
ในตอนกลางคืน ถ้าท้องฟ้าไม่มีเมฆ นอกจากเราจะสังเกตเห็นดวงจันทร์แล้ว
เรายังเห็นจุดของแสงสว่างเล็กๆ อยู่บนท้องฟ้า บางดวงมีแสงระยิบระยับ
บางดวงมีแสงนิ่ง เราเรียกจุดที่เห็นบนท้องฟ้าว่า ดวงดาว
ดวงดาวบนท้องฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เรียกว่า ดาวฤกษ์
ระยิบระยับและกะพริบตลอดเวลา เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวเหนือ หรือดาวโพลาริสเป็นต้น
2. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เรียกว่า ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงระยิบระยับ ไม่กะพริบ เช่น โลก ดวงจันทร์ ดาวอังคาร เป็นต้น
ดวงจันทร์
ท้องฟ้าเวลากลางคืน เราจะเห็นดวงดาวต่างๆ มากมาย บางคืนจะมองเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง บางคืนจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะแหว่ง ดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเท่ากับเวลาในการโคจรรอบโลก ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ดวงจันทร์และลักษณะของดวงจันทร์ในคืนต่างๆ (Moon Phases)
rock plaster cast tiles
Investigate : วันนี้ที่ห้างสรรพสินค้ามีการจัดนิทรรศการสัตว์ประหลาด ลิปดาอยากได้มาเลี้ยงที่บ้านบ้างคุณพ่อบอกว่าอันตรายสัตว์บางชนิดมีพิษ แต่เราสามารถจำลองสัตว์พวกนี้มาไว้ที่บ้านเราได้นะ ลองไปทำดูมั้ยจ๊ะ
Missions :
- ให้นักเรียนเลือกหินที่มีลักษณะรูปร่างตามที่ต้องการจากการเลือกตามลักษณะภายนอกที่เหมาะสม
- จากนั้นนำมาเรียงเป็นรูปแบบตามที่ต้องการบนพิมพ์
- เทปูนปลาสเตอร์ลงไป รอแห้ง และตกแต่งตามใจชอบ
Materials :
- หินลักษณะรูปร่างต่างๆ
- แม่พิมพ์
- ปูนปลาสเตอร์
- อุปกรณ์ผสม
- อุปกรณ์ตกแต่ง
- สีอะคริลิค
- พู่กัน
Building & Testing
- เกิดปัญหาอะไรบ้างในการสร้างชิ้นงาน
- มีปัจจัยใดบ้างที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้างชิ้นงาน
Evaluation & Redesign
- นักเรียนสามารถทำภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่
- ส่วนที่ยากที่สุดของภารกิจนี้คืออะไร
- แนวความคิดที่ได้จากกิจกรรมนี้คืออะไร
- นักเรียนสามารถนำเสนองานประดิษฐ์ในรูปแบบของ STEM ได้อย่างไรบ้าง